วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Form A

Form A คืออะไร
-
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์

การขอหนังสือรับรอง From A ต้องยื่นตรวจคุณสามบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดที่จะขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรอย่างไร
-
การขอหนังสือรับรอง Form A สำหรับสินค้าพิกัดศุลกากรตอนที่ 01-24 ให้ยื่นตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดในขณะที่ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ส่วนสินค้าพิกัดฯ ตอนที่ 25-97 จะต้องยิ่นขอตรวจคุณสมบัติฯ ก่อนขอหนังสือรับรองฯ

การยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าด้านถิ่นกำเนิดของสินค้าใช้เวลากี่วัน
- กรณี การยื่นแบบ
internet ภายใน 30 นาที ส่วนกรณีการยื่น Manual ภายใน 3 วันทำการ ต่อคำขอ/คำรับรอง 1 ฉบับ


การยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด สามารถยื่นได้กี่วิธี
- สามารถยื่นโดยเข้าระบบ
ROVERs (Rules of Origin Verification Systems) หรือ E-Origin ได้ทางเว็บไซด์ www.dft.go.th เลือกแบนเนอร์ชื่อ “ลงทะเบียนใหม่” แล้วกรอกข้อมูลคำขอลงทะเบียน และนำคำขอลงทะเบียนที่พิมพ์ออกจากระบบ พร้อมเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับ Username และ Password ไป log in เข้าใช้ระบบงานได้ที่สำนักงานบริหารการนำเข้าชั้น 14 กรมการค้าต่างประเทศ
- สำหรับผู้ส่งออกที่ยื่นเอกสารแบบ
manual สามารถติดต่อใช้บริการบันทึกและส่งข้อมูลคำขอตรวจคุณสมบัติฯ เข้าสู่ระบบ ROVERs หรือ E-Origin ได้ที่ Conuter Service ชั้น 3 กรมการค้าต่างประเทศ

การใช้สิทธิพิเศษทางการค้า

GSP สิทธิพิเศษทางการค้า คืออะไร
- ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
(Generalized System of Preference : GSP) คือ มาตรการการลดหย่อนภาษี / ยกเว้นภาษีนำเข้าที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา ปัจจุบันประเทศที่ให้สิทธิ GSP มี 34 ประเทศ ได้แก่
            - สหภาพยุโรป (มีสมาชิก
27 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส กรีซ ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลเวเนีย บัลกาเรีย และ โรมาเนีย)
            - สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์

หนังสือรับรองการใช้สิทธิพิเศษมีกี่ชนิด
- มี
8 ชนิด ดังนี้
           
1.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบเอ (Certificate of Origin Form A) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิสเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ เป็นต้น
            2.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบดี (Certificate of Origin Form D) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมภูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย
            3.หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ จี.เอส.ที.พี. เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนา รวม 43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว ได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา บังคลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา เกาหลีเหนือ เอกวาดอร์ อียิปต์ กานา กินี กายอานา อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เมอร์โคซูร์ เม็กซิโก โมร๊อกโค พม่า โมซัมบิก นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน ไทย ตรินิแดดและโตเบโก ตูนิเซีย แทนซาเนีย เวเนซูเอลา เวียดนาม และซิมบับเว หรือดูได้ที่ www.unctadxi.org/gstp
          4.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมไปยังสหภาพยุโรป ตามรายการที่กำหนดไว้
            5.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ่ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า
            6.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรมทั่วไป (Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ใช้สำหรับการส่งออก สินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษฯ ไปยังประเทศญี่ปุ่น และแคนาดา
            7.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบอี (Certificate of Origin Form E) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงว่าด้วย เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน สำหรับสินค้าที่ส่งไปจีนและประเทศอาเซียน 9 ประเทศ
          8.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบเอฟ ที เอ (Certificate of Origin Form FTA) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้ผุ้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรี สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และอื่น ๆ

บัตรประจำตัวผู้ส่งออก

ขั้นตอนการทำบัตรประจำตัวผู้ส่งออก – นำเข้าสินค้า มีวิธีการอย่างไร
- ขั้นตอนที่
1 ยื่นคำร้องขอมีบัตรฯ ที่สำนักบริการการค้าต่องประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ สนามบินน้ำ นนทบุรี
            กรณี กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามที่ได้มีการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคล เป็นผู้มาดำเนินการยื่นคำร้องขอมีบัตรฯ ด้วยตนเอง มีแบบคำร้องดังนี้
1.แบบ บก.1 คำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าและ/หรือบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
2.แบบ บก.1/1 หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า (ตามจำนวนผู้รับมอบอำนาจ)
3.แบบ บก.4 แบบแจ้งข้อมูลรายชื่อกรรมการเป็นภาษาอังกฤษ
            - กรณี กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่สามารถยื่นคำร้องขอมีบัตรฯ ด้วนตนเองได้ ต้องมีแบบคำร้องเพิ่มเติม ดังนี้
           
1.แบบ บก.2 หนังสือมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า สินค้า/บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
           
2.แบบ บก.3 หนังสือรับรองลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจโดยทนายความ พร้อมสำเนาบัติประจำตัวสมาชิกสภาทนายความ หรือหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสามัญ/วิสามัญ แห่งเนติบัณฑิตยสภา ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
ขั้นตอนที่ 2 ชำระเงินค่าบัตรฯ ตามจำนวนบัติ
ขั้นตอนที่ 3 ผู้รับมอบอำนาจรับการถ่ายรูปสำหรับติดบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนที่ 4 รับบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า / บัตรผู้รับมอบอำนาจ



บัตรประจำตัวผู้ส่งออกสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนได้กี่คน และบัตรมีอายุในการติดต่อกับกรมฯ ใช้ได้ถึงเมื่อใด จะต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนเท่าไร
- ผู้ส่งออกสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนได้ไม่จำกันจำนวนคน และบัตรมีอายุ
2 ปี ส่วนค่าธรรมเนียมบัตรราคาใบละ 200 บาท
คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com