วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

สินค้าจำพวกเมล็ดผลิตภัณฑ์ที่ใช้สกัดทำน้ำมัน มีข้อจำกัดในการนำเข้าหรือไม่

-ถ้าสินค้าจำพวกเมล็ดพันธ์ที่ใช้สกัดน้ำมันพืช พิกัดศุลกากร 1507.10.00, 1507.90.10, 1507.90.20, 1507.90.90 เป็นสินค้าภายใต้ WTO ให้ติดต่อสำนักงานมาตรการการค้า กรมการค้าต่างประเทศ

ใบชาสำเร็จรูป มีโควตาหรือไม่ และต้องดำเนินการอย่างไร

-ใบชาสำเร็จรูปชงแล้ว ถ้ามีกากเป็นสินค้ามีโควตา ต้องขออนุญาตินำเข้าที่สำนักงานบิการการค้าต่างประเทศ แต่ถ้าชมแล้วไม่มีกาก (Instant) สามารถนำเข้าโดยใช้ชำระสิทธิเสียภาษีนอกโควตาในอัตราปกติ

การนำเข้านมผงขาดมันเนย จากต่างประเทศ มีหลังเกณฑ์ วิธีการอย่างไร

-นมผงขาดมันเนย เป็นสินค้าภายใต้ WTO ผู้นำเข้าจะนำเข้าได้ต้องขอรับการจัดสรร หลักเกณฑ์ และวิธีการนำเข้า ติดต่อสำนักมาตรการทางการค้ากรมการค้าต่างประเทศ
-สามารถนำเข้านอกโควตาได้โดยขอหนังสือรับรองนอกโควตา

วิธีการ หลักเกณฑ์ในการนำเข้าเส้นไหม มีอย่างไรบ้าง

-หลักเกณฑ์ในการนำเข้าเส้นไหม พิกัด 50.02, 50.04 กรณีที่นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก WTO และอาเซียน ผู้นำเข้าต้องมีภาระรับซื้อไหมที่ผลิตภายในประเทศ 1 ส่วน สามารถนำเข้าได้ 2 ส่วนหรือติดต่อที่สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ

การใช้สิทธิพิเศษ AISP

การใช้สิทธิพิเศษ AISP นั้นเป็นการลดหย่อนภาษีสินค้านำเข้าที่ประเทศไทยให้แก่สมาชิกอาเซี่ยนใหม่ คือ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม สินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษมีดังนี้ คือ ข้าวโพดหวาน ขาวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง ถั่งเหลือง เมล็ดละหุ่ง ไม่ยูคาลิปตัส มันฝรั่ง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนประเทศลาวได้สิทธิพิเศษอีกชนิดคือ ลูกเดือย โดยผู้นำเข้าต้องของหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่ส่งออกมาไทย

การนำเข้ากระเทียมจากประเทศเพื่อนบ้าน มีหลังเกณฑ์วิธีการอย่างไร

-กระเทียม เป็นสินค้าภายใต้ WTO สามารถนำเข้าโดยใช้สิทธิชำระภาษีนอกโควตา ส่วนผู้ที่สามารถใช้สิทธินำเข้าในโควตาได้ คือองค์การคลังสินค้า (อคส.) กระทรวงพาณิชย์ นำเข้าภายใต้ AFTA ใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด FORM D

การนำเข้าหอมหัวใหญ่ โดยต้องการใช้สิทธิพิเศษอาเซียน-จีน ทำได้หรือไม่ อย่างไร

-การนำเข้าหมอหัวใหญ่ นำเข้าได้โดยใช้สิทธิชำระภาษีใน หรือจอกโควตา เนื่องจากหอมหัวใหญ่เป็นสินค้าภายใต้ WTO หน่วยงานที่สามารถนำเข้าในโควตาได้คือ ผู้ได้รับการจัดสรรจากชุมนุมสหกรณ์ผู้ปลูกลูกหอมหัวใหญ่แห่งประเทศไทย

การนำเข้าสินค้าจำพวก งา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง จากประเทศเพื่อนบ้าน มีขั้นตอนการนำเข้าอย่างไร

-การนำเข้าสินค้า งา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง จากประเทศเพื่อนข้าน (กัมพูชา สปป.ลาว สหภาพพม่า) สินค้าถั่วเหลือง ผู้นำจะเข้าจะต้องปฏิบัติตามระเบียบเปิดตราดภายใต้ข้อตกลง WTO และต้องขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิทางภาษีก่อนนำเข้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองทางภาษีนำเข้ามีจำนวน 13 กลุ่ม สามารถนำเข้าได้โยไม่จำกัดปริมาณ อัตรภาษีร้อยละ 0
2.ขอหนังสือรับรองจากสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ แสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การค้าโลก (WTO)
3.ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตภายในประเทศตามราคาที่ทางการกำหนด โดยทำสัญญาไว้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการค้าภายใจ กระทรวงพาณิชย์
4.ผู้นำเข้า นำหนังสือรับรองการได้รับสิทธิชำระภาษีประกอบการทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร สินค้างา, ถั่วเขียว สามารถนำเข้าได้เสรี โดยผู้นำเข้าต้องทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร

การส่งออกสินค้ากาแฟปรุงสำเร็จรูป 3 in 1

การส่งออกสินค้ากาแฟปรุงสำเร็จรูป 3 in 1 พิกัด 2101.12 ซึ่งมีอัตราส่วนผสมน้ำตาลทราย ร้อยละ 54 ครีมเทียมร้อยละ 37 และกาแฟสำเร็จรูปร้อยละ 9 จะต้องขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกกาแฟหรือไม่
กาแฟปรุงสำเร็จรูปที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ และสิ่งเข็มข้นของการแฟผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
36.54 ไม่ต้องขออนุญาตส่งออก

ข้อยกเว้นในการส่งออกกาแฟ มีอย่างไรบ้าง

-การส่งออกกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างในการซื้อขาย โดยอยู่ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
1.ผลกาแฟไม่เกิน 120 กิโลกรัม
2.กาแฟกะเทาะเปลือกแต่ยังมีเยื่อหุ้มไม่เกิน 75 กิโลกรัม
3.กาแฟเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วแล้วไม่เกิด 60 กิโลกรัม
4.กาแฟเมล็ดคั่วแล้วไม่เกิน 50.4 กิโลกรัม
5.กาแฟผงหรือน้ำเชื้อหรือน้ำเคี่ยวข้นไม่เกิด 23 กิโลกรัม
6.การนำออกเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือใช้ยานพาหนะใดในปริมาณที่สมควร

การรายงานการส่งออกกาแฟ จะต้องรายงานการรับซื้อกาแฟภายในกำหนดกี่วัน

ผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาติ จะต้องรายการปริมาณการรับซื้อกาแฟดิบต่อกรมการค้าต่างประเทศเป็นประจำทุกเดือน ภายใน 7 วันทำการของเดือนถันไป ตามแบบพิมพ์ที่กำหนด

การเป็นผู้ส่งออกกาแฟ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

-1.เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบพาณิชยกิจเป็นผู้ค้ากาแฟ หรือสินค้าทางการเกษตรออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
-
2.จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาตกับกรมการค้าต่างประเทศ ขอรับใบอนุญาติส่งสินค้าออกฯ และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

การทำการค้าและการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านจะต้องดำเนินการอย่างไร

และหากมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านต้องเสียภาษีหรือไม่
-เนื่องจากแต่ละประเทศมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ขอให้ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักความร่วมมือการค้า และการลงทุน โทร.02-547-4729-32 หรือสามารถค้นหาข้อมูลที่เว็บไซด์ www.dft.go.th/การค้าชายแดน ส่วนการเสียภาษีการนำเข้าขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า www.aseansec.org/20937

สินค้าอะไรที่สามารถซื้อขายภายใต้โครงการการค้าแบบหักบัญชีบ้าง

-สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรทุกชนิด (ยกเว้นการซื้อขายสินค้าน้ำมันและสินค้าข้าว) สามารถซื้อขายผ่านโครงการการค้าแบบหักบัญชีได้กับประเทศที่ทำความตกลงการค้าแบบหักบัญชีกับไทย ซึ่งได้แก่มาเลเซีย บังกลาเทศ พม่า และอิหร่าน แต่ที่การดำเนินธุรกรรมการค้าภายใต้โครงการนี้กับประเทศที่ลงนามร่วมกันแล้วไม่เป็นผลเท่าที่ควร ปัจจุบันไม่มีการผลักดันการดำเนินภายใต้โครงการดังกล่าว

การส่งออกซากสัตว์ และเครื่องในสัตว์ อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานใด

-การส่งออกซากสัตว์และเครื่องในสัตว์อยู่ในความดูแลของกรมปศุสัตว์ กระทรวมเกษตรและสหกรณ์ หรือโทร 02-653-4444

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเปลือกหอย มีมาตรการในการส่งออกอย่างไร

-ติดต่อกรมประมงเพื่อขอหนังสือรับรองชนิดของหอย และเปลือกหอย ประกอบการขอใบอนุญาติส่งออกต่อสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ

การส่งออกสุรา และไวน์ ต้องติดต่อหน่วยงานใด ดำเนินการอย่างไร

-ติดต่อกรมสรรพสามิต โทร.02-341-5600 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทร.02-590-7000

ภาษีการส่งออกกุ้งแช่แข็งไปอเมริกา สามารถดูได้จากหน่วยงานใด

-ติดต่อสำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ หรือ www.usitc.gov/tata/hts/bychapter/index.htm

การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์ไปประเทศกัมพูชา มีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร

-ได้มีประกาศ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร์ (ฉบับที่ 65) พ.ศ.2536 พ.ศ.2548 เป็นผลให้การส่งออกนำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกทางด่านศุลกากรบริเวณชายแดนด้านประเทศกัมพูชา ไม่ต้องขออนุญาติส่งออก ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานกำหนด ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมธุรกิจพลังงาน โทร.02-522-5961-65 ต่อ 1807

การนำเข้ายางพาราจากมาเลเซีย มีวิธีการอย่างไรบ้าง

-ผู้นำเข้าหรือส่งออกยางพาราจะต้องขอใบอนุญาตค้ายาง จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนทำพิธีการนำเข้า/ส่งออก กับกรมศุลกากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถติดต่อโดยตรงกับกรมวิชาการเกษตร โทร. 02-579-0151-7 สำหรับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้กำหนดระเบียบการนำเข้า ส่งออกยางพารา

สินค้า otop ของไทยหลายชนิดส่งไปจำหน่ายต่างประเทศมีขั้นตอนอย่างไร

-สินค้า otop ต้องแยกเป็นประเภทของสินค้า
 ---อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องตรวจสอบสารปนเปื้อน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทร.
02-590-7000
---ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเบญจรงค์ ต้องติดต่อที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร.02-202-3301-4
---ผ้าพื้นเมือง สินค้าผ้าทอ ให้ดำเนินการขอทำใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าหรือหนังสือแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอ ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับมาตรการทางการค้าของประเทศนั้นด้วย

กระเป๋าที่ทำจากหนังโค-กระบือ และต้องการส่งออกไปต่างประเทศ ได้หรือไม่

-สามารถส่งออกได้ แต่ประเทศคู่ค้าบางประเทศต้องการใบรับรองด้านการปลอดเชื้อจากวัตถุดิบ (หนังโค-กระบือ) ที่ผลิตเป็นสินค้ากระเป๋า ติดต่อกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร.02-653-4444 ต่อ 3121 เพื่อขอใบรับรองการปลอดเชื้อ
คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com