วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การขอ Form ผ่านระบบ EDI

1.ยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ใช้บริการในระบบ EDI
2.เข้ารับการฝึกอบรมวิธีการใช้ระบบในการใช้งาน
3.ทดสอบรับ-ส่งข้อมูลด้านระบบหลังการฝึกอบรม
4.รับ Password เพื่อใช้งานขอหนังสือสำคัญการส่งออก - นำเข้า
5.ส่งคำขอพร้อมบันทึกรายละเอียดข้อมูลของ Form ที่ต้องการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์จากสำนักงานได้ตลอด 24 ชัวโมง
6.รับหนังสือรับรองได้ทีสำนักงานบริการการค้าต่างประเทศ ที้งนี้โครงการขอสมัครไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ

การขอForm ผ่านระบบEDI สามารถใช้กับทุกแบบของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด ได้แก่ Form A,Form D,Form E,Form FTA,Form C/O ทั่วไป Form C/O Mexico และ C/O Textile และใช้กับการขอแบบพิมพ์ใบอนุญาตินำเข้า-ส่งออก สินค้าทั่วไปได้แก่ ข 4,อ 4 เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัคร EDI เพื่่อยื่อขอต้นทุนการผลิตในสินค้า FTA ไทย-ออสเตรเลีย
การสมัคร EDI เพื่อยื่นขอต้นทุนการผลิตในสินค้าสามารถยื่นขอได้ทางเว็บไซด์ดำเนินการได้ ดังนี้
1.ลงทะเบียนเพื่อขอรับ User Name และ Password ที่เวปไซด์ www.dft.go.th
2.บันทึกข้อมูลลงในระบบและคำรับรอง พร้อมเอกสารประกอบอื่น ๆ มายื่นที่สำนักป้องกันการแอบอ้างสิทธิ
3.นำเอกสารคำขอลงทะเบียนและคำรับรอง พร้อมเอกสารประกอบอื่น ๆ มายื่นที่สำนักป้องกันการแอบอ้างสิทธิ
4.เอกสารที่ต้องนำมายื่นเพื่่อขอรับ User Name และ Password
-คำขอลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบ (พิมพ์ออกจากระบบ)
-คำรับรองการใช้งานระบบ(พิมพ์ออกจากระบบ)
-หนังสือมอบอำนาจให้ลงนามแทนผู้มีอำนาจลงนามผู้พันนิติบุคคลตามที่ระบุใน หนังสือรับรองการจะทะเบียนนิติบุคคล ถ้าผู้ลงนามผู้พันนิติบุคคลตามที่ระบุใน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ถ้าผุ้ลงนามในเอกสารเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ลงนามแทนได้
-หนังสือมอบอำนาจให้มายื่นและรับเอกสารแจ้ง User Name และ Password เพื่อยืนยันว่าผุ้มายื่นและรับเอกสารเกี่ยวข้องกับบริษัทจริง

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การยื่นขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

การยื่อขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สามารถยื่นได้ 2 วิธี
1.ระบบปกติ(Manual)
-ซื้อแบบพิมพ์คำขอและหนังสือรับรองถินกำเนิดสินค้า
-พิมพ์ข้อมูลลงในแบบคำขอและหนังสือรับรอง
-ยื่นคำขอและแบบพิมพ์หนังสือรับรอง ที่พิมพ์เรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารแนบ
-รับหนังสือรับรอง
ทุกขั้นตอนให้แสดงบัตรประจำตัว ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้

2.ระบบอิเล็กทรอนิกส์(Internet)
ก่อนใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ยื่อขอสมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้ระบบและเข้ารับ การฝึกอบรมเพื่อใช้ในการ Login เข้าสู่ระบบผ่าน Internet
การขอหนังสือรับรองผ่าน Internet มีขั้นตอนดังนี้
1.Login เข้าสู่ระบบผ่านทาง homepage กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th เพื่อบันทึกข้อมูลคำขอผ่าน Internet
2.รับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านหน่วนงานให้บริการโดยแสดงบัตรประจำตัว ที่กรมการค้าต่างประเทศ ออกให้

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

EDI

EDI คือ
Electronic Data Interchange (EDI) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมุลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ EDI ที่นำมาใช้กับการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้าได้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสะดวกต่อการให้บริการโดยมีค่าใช้จ่ายลดลง กล่าวคือในระบบใหม่จะอยู่ในรูปแบบของ Web Application ซื่งเป็นระบบปิด ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสามารถยื่นคำขอหนังสือสำคัญ ผ่านระบบ Internet จึงทำให้ยื่นคอขอที่ได้ตลอด 24 ช.ม.

ประโยชน์การสมัคร EDI
1.ใช้ในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสินค้า ณ ประเทศปลายทางได้แก่ Form A,Form D,Form FTA,Form GSTP และ Form E สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมทั้งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไปที่ออกให้ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรอง เป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

2.เพื่อใช้สำหรับการขอหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้าที่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น สินค้าสิ่งทอ มันสำปะหลัง เป็นต้น หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีภายใต้ WTO ทั้งในและนอกโควตาสำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เช่นชา กาแฟ หอม กระเทียม

3.ใบอนุญาตการส่งออก-นำเข้าสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออกและนำเข้าเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศ เช่น ใบอนุญาตการส่งออกสินค้าข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม้ยางพารา ไม้สน ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า กาแฟ ชา(ชาไบ,ชาผง) รถยนต์ใช้แล้ว รถยนต์ดัดแปลงสภาพ สินค้ายา และเคมีภัณฑ์รวม 16 ชนิด เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

FTA

FTA คือ
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่ากันภายในกลุ่มที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีสูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มข้อตกลง การทำเขตการค้าเสรีในอดีต มุ่งในด้านการเปิดเสรีทางการค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรค์ที่มิใช่ภาษีเป็นหลัง แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุน(Investment)ด้วย

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Form C/O และ Form C/O Mexico

หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form C/O ทัวไป คือ
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกให้เพื่อรับรองว่า สินค้าที่ระบุในหนังสือรับรอง เป็นสินค้าแหล่งกำเนิดในประเทศไทย โดยไม่สามารถขอรับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร

Form C/O Mexico คือ
หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ประเทศเม็กซิโกกำหนดขึ้นเพื่อใช้สำหรับสินค้าประเภท สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ปละรองเท้า ที่ส่งออกไปยังเม็กซิโกตามพิกัดและรายการสินค้าที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยมีเอกสารประกอบดังนี้
1.ในกำกับสินค้า (Commercial lnvoice)ต้นฉบับ หรือสำเนา
2.ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading - B/L) หรือใบรับขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) หรือเอกสารแสดงการขนส่งสินค้าอื่น ๆ ต้นฉบับ หรือสำเนา สินค้าบางรายการอาจจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ เห็ดหอม กระเทียมสด ปลาทูน่า กระเบื่องเซรามิก รองเท้า หอมแดง และหยก

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Form D

Form D คือ
หนังสือรับรองที่ยื่นขอใช้สิทธิลงหย่อนภาษีศุลกากร โดยมาจากคำว่า Common Effective Preferential Tariff (CEPT) หมายถึง อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน เป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่นำเข้าระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ประกอบด้วย10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา

วิธีการคิดต้นทุนการผลิตเพื่อขอ Form D
การคิดต้นทุนการผลิตสินค้าเพื่อขอ Form D คำณวนโดนนำมูลค่ารวมของต้นทุนการผลิตในประเทศ (วัตถุดิบในประเทศ + ค่าขนส่งไปถึงท่าเรื่อ หรือด่านที่ส่งออก) หารด้วยราคาสินค้า F.O.B. คุณด้วย 100 ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมากกว่า 40% จึงจะขอ Form D ได้

back to back Form D คือ
ประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนที่ต้องการส่งสินค้าไปยังประเทศที่ 3 เช่น อินโดนีเซียส่งสินค้ามาไทย และประเทศไทยส่งต่อไปยังประเทศลาว สามารถทำได้ซึ่งเป็นการ Re-export สินค้าดังกล่าว ซึ่งสินค้าต้องไม่มีการกระทำสิ่งใด หรือเปลี่ยนแปลงสภาพของสินค้าโดยหนังสือรับรอง (Back to Back Form D) จะต้องระบุสินค้าและแหล่งกำเนิดในช่อง 8 ตรงกับ Form D ฉบับเดิม

วิธีปฎิบัติในการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Form D
1.ยื่นคำขอหนังสือรับรอง Form D พร้อมหนังสือรับรอง Form D ที่พิมพ์ข้อความครบถ้วนถูกต้องต่อหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรอง ของกรมการค้าต่างประเทศ
2.เอกสารประกอบด้วย ใบกำกับสินค้า (ตันฉบับหรือสำเนา),ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading:B/L) หรือใบรับขนส่งสินค้าทางอากาศ(Air Waybill) หรือเอกสารแสดงการขนส่งสินค้าอื่น ๆ ต้นฉบับหรือสำเนา
3.หนังสือรับรองอัตราส่วนต้นทุนการผลิตสินค้าทั่วไปและหนังสือรับรองละเอียดขั้นตอนการผลิตสินค้าสิ่งทอ ในกรณีเป็นสินค้าสิ่งทอพิกัด 50-63
4.กรณีเป็นสินค้าภายใต้พิกัดตอนที่ 25-97 ต้องแลกหนังสือแจ้งผลการตรวจคุรสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพือขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Form A คือ

Form A คือ
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรับอเมริกา ญี่ปุ่น แคนนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์

การขอหนังสือรับรอง Form A ต้องยื่นตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดที่จะขอใช้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร อย่างไร-การขอหนังสือรับรอง Form A สำหรับสินค้าพิกัดศุลกากรตอนที่ 01-24 ให้ยื่นตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดในขณะที่ยื่นขอหนังสือรับรอง ส่วนสินค้าพิกัด ตอนที่ 25-97 จะต้องยื่นขอตรวจคุณสมบัติ ก่อนขอหนังสือรับรอง

การยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดของสินค้าถ้ายื่นแบบ Internet ใช้เวลา 30 นาที ถ้ายื่น Manual ภายใน 3 วันทำการ ต่อคำขอ/คำรับรอง 1 ฉบับ

การยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด
สามารถยื่นได้โดย
1.สามารถยื่นโดยเข้าระบบ Rover (Rules of Origin Verification System) หรือ E-Origin ได้ทางเวป www.dft.go.th เลือกแบบเนอร์ชื่อ e-foreign trade และเลือกแบบเนอร์ ตรวจแหล่งกำเนิดสินค้า เลือกที่เมนุ ลงทะเบียนใหม่ แล้วกรอกคำขอลงทะเบียน และนำคำขอลงทะเบียนที่พิมพ์ออกจากระบบ พร้อมเอกสารประกอบเพื่อยื่นขอรับ User name และ Password ไป login เข้าใช้ระบบงานได้ที่สำนักบริหารการนำเข้า ชั้น 14 กรมการค้าต่างประเทศ

2.สำหรับผู้ส่งออกที่ยื่นเอกสารแบบ Manual สามารถติดต่อใช้บริการบันทึกข้อมูลคำขอตรวจคุณสมบัติ เข้าสู่ระบบ ROVER หรือ e-origin ได้ที่ Counter Service ชั้น 3 กรมการค้าต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หนังสือรับรองการใช้สิทธิพิเศษ

หนังสือรับรองการใช้สิทธิพิเศษมี 8 ชนิด

1.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบเอ (Certificate of Origin Form A) เป็นหนังสือรับรอง ที่ออกให้แก่ผุ้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี ขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิเพิเศษ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิสเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ เป็นต้น

2.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบดี (Certificate of Origin Form D) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ตามความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area :AFTA) สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ บูรไน อินโดนีเซีย

3.หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ จี.เอส.ที.พี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนารวม 43 ประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันข้อตกลงแล้ว ได้แก่ แอลจีเรีย อาร์เจนตินา บังคลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โลลัมเบีย คิวบา เกาหลีเหนือ เอกวาดอร์ อียิปต์ กานา กินี กายอานา อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เมอร์โคซูร์ เม็กซิโก โมร็อคโค พม่า โมซัมบิก นิการากัว ในจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน ไทย ตรินิแดดและโตเบโก ตูนิเซีย แทนซาเนีย เวเนซูเอลา เวียดนาม และซิมบับเว หรือดูได้ที่ www.unctadxi.org/gstp

4.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม(Certificate n Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าหัตกรรมไปยังสหภาพยุโรป ตามรายการที่กำหนดไว้

5.หนังสือรับรองถิ่่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ่ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองที่่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหม่และผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซืีงจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

6.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตกรรมทั่วไป(Certificate of Origin Handicraft or Handloom Products) เป็นหนังสือที่รับรองที่ใช้สำหรับการส่งออก สินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษ ไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนนาดา

7.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบอี (Certificate of Origin Form E) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผุ้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงว่าด้วย เขตการค้าเสรีอาเซียน จีน สำหรับสินค้าที่ส่งไปจีนและประเทศอาเซียน 9 ประเทศ

8.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบเอฟ ที เอ (Certificate of Origin Form FTA) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกเพื่อใช่้ออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรี สำหรับสินค้าที่ส่งไปประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และอื่น ๆ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การใช้สิทธิพิเศษทางการค้า

GSP หรือ สิทธิพิเศษทางการค้า คือ
ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกร (Generalized System of Preference) คือ มาตรการการลดหย่อนภาษี/ยกเว้นภาษีนำเข้าที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศด้วยพัฒนา ปัจจุบันประเทศที่ให้สิทธิ GSP มี 34 ประเทศ ได้แก่
สหภาพยุโรป มีสมาชิก 27 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส กรีซ ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย สโลเวเนีย บัลกาเรีย และโรมาเนีย
สหรัฐอเมริการ ญี่ป่น แคนนาดา รัสเซีย ตุรกี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์

การขอ EDI เพือยื่นขอต้นทุนการผลิตในสินค้า FTA ไทย-ออสเตเลีย

ในการสมัคร EDI เพื่อยื่นขอต้นทุนการผลิตในสินค้า FTA ไทย-ออสเตรเลีย ยื่นขอทางเวปไซด์ได้ดังนี้
1.ลงทะเบียนเพื่อขอรับ User Name และ Password ที่เว็บไซต์ www.dft.go.th
2.บันทึกข้อมูลลงในระบบและยืนยันคำรับรอง พร้อมพิมพ์ข้อมูลจากระบบ โดยจะต้องลงนามในเอกสาร คำขอลงทะเบียนและคำรับรอง
3.นำเอกสารคำขอลงทะเบียนและคำรับรอง พร้อมเอกสารประกอบ อื่น ๆ มายื่นที่สำนักป้องกันการแอบอ้างสิทธิ
4.เอกสารที่ต้องนำมายื่นเพื่อขอรับ User Name และ Password
-คำขอละทะเบียนเพื่อนใช้ระบบ(พิมพ์ออกจากระบบ)
-คำรับรองการใช้งานระบบ (พิมพ์ออกจากระบบ)
-หนังสือมอบอำนาจให้ลงนามแทนผุ้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลตามที่ระบบใน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ถ้าผู้ลงนามในเอกสารเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ลงนามแทนได้
-หนังสือมอบอำนาจให้มายื่นและรับเอกสารแจ้ง User Name และ Password เพื่อยื่นยันว่าผุ้มายื่นและรับเอกสารเกี่ยวข้องกับบริษัทจริง

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า

ขั้นตอนในการทำบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า
1.ยื่นคำร้องขอมีบัตรที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ สนามบินน้ำ นนทบุรี
กรณี
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามที่ได้มีการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลเป็นผุ้มาดำเนินการยื่นคำร้องขอมีผู้มีบัตร ด้วยตนเอง มีแบบคำร้องดังนี้
แบบ บก.1 คำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าและหรือมีบัตรประจำตัวผู้รบมอบอำนาจ
แบบ บก.1/1 หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า(ตามจำนวนผุ้รับมอบอำนาจ)
แบบ บก.4 แบบแจ้งข้อมูลรายชื่อกรรมการเป็นภาษาอังกฤษ กรณี กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการนิติบุคคลตาม ที่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่สามารถยื่นคำร้องขอมีบัตรด้วยตนเองได้ ต้องมี แบบคำร้องเพิ่มเติมดังนี้
แบบ บ.ก.2 หนังสือมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า สินค้า/บัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
แบบ บก.3 หนังสือรับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจโดยทนายความพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความหรือหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสามัญ/วิสามัญแห่งแนติบัณฑิตยสภา ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
ขั้นตอนที่2 ชำระเงินค่าบัตร ตามจำนวนบัตร
ขั้นตอนที่3 ผู้รับมอบอำนาจรับการถ่ายรูปสำหรับติดบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ
ขั้นตอนที่4 รับบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า/บัตรผู้รับมอบอำนาจ

บัตรประจำตัวผุ้ส่งออกสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนได้ 2 คน และบัตรมีอายุในการติดต่อกับกรมได้2 ปี ค่าธรรมเนียมบัตรราคาใบละ 200 บาท
คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com