วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนจบ
การลด/เลิก อากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ส่งออก ด้ายราคาวัตถุดิบนำเข้าที่ลดลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่มีอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศน้อยลง ทั้งในด้านภาษีอากรและมาตรการกีดกันทางการค้าอื่น ๆ ทำนองเดียวกับประเทศคู่สัญญาในเรื่องของโอกาสที่มาพร้อมกับการแข่งขัน ผลกระทบที่จะเกิดจึงเป็นทั้งเชิงบวก และเขิงลบ ทั้งนี้ผู้ใดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปรงที่เร็วกว่า และไขว่คว้าโอกาสที่เปิดขึ้นนี้ได้มากกว่า ย่อมเป็นผู้จะได้รับประโยชน์สูงสุด
ความเป็นไปของ FTA แต่ละฉบับ
เหตุผลสำคัญในการเลือกประเทศเพื่อจัดทำ FTA ของไทย เช่น การรักษาศักยภาพในการส่งออก และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดสำัคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน(10 ประเทศประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ เวียดนาม บูรไน ลาว พม่าและกัมพูชา) อีกทั้งตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย กลุ่ม BIMSTEC (Bay of Bengal initative for multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation มีสมาชิก 7 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย) ประตูการค้าสู่ภูมิภาค ได้แ่ก่ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Europe Free Trade Association - EFTA) เม็กซิโก เกาหลี และกลุ่ม Mercosur (Mercado Comun del Sur ในภาษาเสปน หรือ Southern common Market ในภาษาอังกฤษหรือตลาดร่วมอเมริกาตอนล่าง มีสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย อุรุกวัย ชิลี โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา)
ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี
วารสารส่งเสริมการลงทุน
พ.ย.52
คัดลอกมาจาก การบริหาร กลยุทธ์
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีของไทย ตอนที่1
เขตการค้าเสรี (Free Trade Area-FTA) หรือความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement) ไม่ใช่ของใหม่อีกแล้ว แม้หลายคนอาจไม่รู้จักก็ตาม เนื่องจาก FTA ฉบับแรกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area- AFTA) ซึ่งในปัจจุบันมี FTA อีกหลายฉบับตามมา ซื้งเราจะมาติดตามกันว่า แต่ละฉบับมีความเป็นไปอย่างไร รวมถึงจะได้มาทำความเข้าใจถึงเป้าหมาย และสาระสำคัญในการจัดทำ FTA และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วย
เป้าหมายการจัดทำ FTA
FTA เป็นความตกลงระหว่าง 2 ประเทศขึ้นไป เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันให้เหลื่อน้อยที่สุด สร้างการค้าเสรีมากยิ่งขึั้น ลด/เลิก อากรขาเข้า และมาตรการกีดกันทางการค้า่ต่าง ๆ ส่งผลใ้ห้เกิดการสร้าง และขยายโอกาสทางการค้า อีกทั้งเพิ่มพันธมิตรทางเศรษฐกิจ และยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการ ลด/เลิกอากรขาเข้าทำให้ราคาสินค้าต่ำกว่าประเทศอื่นที่อยู่นอกกลุ่ม FTA
รูปแบบ FTA จะมีหลักเกณฑ์อย่างไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ประเทศคู่ัสัญญาตกลงกัน โดยที่ไทยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำ FTA ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งด้านการค้าอื่นที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measure -NTM) เช่น มาตรฐานสินค้านำเข้า มาตรการโควตา เป็นต้น ภายใต้เป้าหมายหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ไม่สร้างอุปสรรคทางการค้ัาเพิ่ิม ครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอ และมีตารางกรลดภาษี หรือเปิดเสรีพร้อมรายละเ้อียดสินค้าที่จะลดภาษี ลดอย่างไร และใช้เวลายาวนานเท่าไรในการลดภาษี
หลักเกณฑ์สำคัญในการจัดทำ FTA ของไทย นอกจากกรอบที่กว้าง และครอบคลุมการค้าระหว่างประเทศมากพอแล้ว ยังต้องมีความโปร่งใส เปิดให้สมาชิกองค์การค้าโลก (World Trade Organization - WTO) อื่นตรวจสอบความตกลง ได้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งมีมาตรการป้องกันผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในจากการเปิดเสรี เช่น มาตรการต่อต้านการอุดหนุน (Counter-vailing Duties - CVD) มาตรการปกป้อง (Safeguards) และกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าอย่างเ็ป็นธรรม เป็นต้น
ที่มา:วันเพ็ญ หรูจิตตวิวัฒน์
มิติที่เป็นไปได้ของเขตการค้าเสรี
วารสาร ส่งเสริมการลงทุน
พ.ย.52
คัดลอกจาก การบริหาร กลยุทธ์
วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการขอรับความช่วยเหลือ
ตอบ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้ทำหน้าที่กลั่นกรองโครงการฯ ที่เสนอขอความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ และนำเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ซึ่งผู้เสนอโครงการจะต้องเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีโดยพิจารณาได้จาก
1) สินค้า/บริการประเภทเดียวกันมีปริมาณนำเข้ามาจากต่างประเทศหลังจากการเปิดการค้าเสรีเพิ่มขึ้นผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยที่ผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ หรือมีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะได้รับผลกระทบ
2) ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้ามีแนวโน้มลดลง
3) การจ้างงานลดลง
4) มีผลการศึกษาระบุว่าภาคการผลิตหรือภาคบริการนั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี
วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553
ใครจะเป็นผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือจากโครงการฯได้บ้าง
ตอบ ผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม/บริการ ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า และต้องการขอรับความช่วยเหลือในระยะสั้นเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ และขอรับความช่วยเหลือ กลุ่มผู้ผลิตจะต้องจัดทำโครงการเสนอฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าที่กรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ โดยเสรอผ่านสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการค้าได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553
ทำสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง
ตอบ สินค้าที่เป็นอุปกรณ์ หรือส่วนประกอบของสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอยู่ในข่ายที่ได้รับความช่วยเหลือ เนื่องจากมีผลกระทบทางอ้อมอันเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าลดลง สามารถเขียนโครงการขอรับความช่วยเหลือจากเงินกองทุนฯ
วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553
การเสนอผ่านสถาบันทางการค้า
ตอบ เนื่องจากการขอใช้เงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ กำหนดให้เป็นกลุ่มผู้ผลิต หรือกลุ่มผู้ให้บริการ จึงต้องการให้หน่วยงานดังกล่าวได้ทราบว่า มีปัญหาผลกระทบเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้ากับกลุ่มผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ให้บริการดังกล่าวแล้ว รวมทั้งให้ช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นให้กับกรมฯ ด้วยว่า กลุ่มผู้ผลิตหรือกลุ่มผู้ให้บริการดังกล่าวมีตัวตนจริง และหน่วยงานดังกล่าวทราบถึงความเป็นมาของกองทุนฯ อยู่แล้ว จึงไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการผ่านเรื่องให้กรมฯ
วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553
การขอเงินสนับสนุนกองทุนฯ FTA จะขอในลักษณะอย่างไร เอาอะไรเป็นเกณฑ์ในการขอเงินสนับสนุน และจะทำการประเมินอย่างไร
วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553
การจัดทำโครงการเพื่อขอความช่วยเหลือจากโครงการให้ความช่วยเหลือ
ตัวอย่างโครงการที่ได้อนุมัติแล้วหลายโครงการ สามารถติดต่อขอดูเป็นตัวอย่างได้ อย่างไรก็ดี หากเขียนโครงการมาแล้วก็สามารถขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบว่าตรงตามหลักเกณฑ์และต้องปรับปรุงอย่างไรได้
ตัวอย่างโครงการขอความช่วยเหลือ
โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP
ตอบ โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP สำหรับโรงงานผลิตปลาป่นที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนฯ FTA จะเป็นการจัดจ้างที่ปรึกษาเข้าไปช่วยเหลือในการจัดทำ/ปรับปรุงระบบภายในของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ 40 โรงงานให้สามารถผ่านการตรวจสอบระบบ GMP ของกรมปศุสัตว์ ดังนั้น หากโรงงานผู้ผลิตปลาป่นที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้
วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553
การฝึกอบรม/สัมมนาครั้งต่อไป ควรจัดเฉพาะส่วนหรือกลุ่มได้หรือไม่เพื่อความเข้าใจในการสอบถามปัญหาข้อสงสัย
วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553
ผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่รู้จะเขียนโครงการอย่างไร ถึงจะมีแบบฟอร์มโครงการให้แต่ไม่รู้จะใช้ภาษาเขียนอย่างไร ให้ทางผู้อนุมัติเข้าใจอยากให้มีการจัดสัมมนาการเขียนโครงการให้ด้วย
วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553
กองทุนฯ ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าหรือไม่ ต้องทำอะไรอีก และมีการติดตามประเมินผลหรือไม่
- มีการติดตามและประเมินผล โดยเลขานุการคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ ทั้งในระหว่างดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติเบิกจ่ายเงินงวดของโครงการต่าง ๆ
วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553
การขอใช้เงินกองทุน FTA
1.ชือโครงการ
2.ผุ้เสนอโครงการ
3.เสนอผ่านสถาบัน(ให้ระบุ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง)
4.เหตุผล ความจำเป็นในการเสอนโครงการ
5.วัตถุประสงค์ของโครงการ
6.ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมช่วยเหลือ
7.รูปแบบการขอรับความช่วยเหลือ
8.วิธีดำเนินการ
9.วงเงินที่เสนอขอรับความช่วยเหลือ
10.ระยะเวลาการดำเนินการ
11.ผลสัมฤทธิ์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12.ตัวชี้วัดของโครงการ
โครงการที่เสนอขอรับความช่วยเหลือจะต้องเป็นโครงการระยะสั้น ควรจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2ปี
วัตถุประสงค์ของโครงการเงินช่วยเหลือ หรือกองทุน FTA ต้องการช่วยเหลือผุ้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในชั้นต้นเนื่องจากเงินมีจำนวนจำกัด จึงต้องการให้ความช่วยเหลือคนส่วนใหญ่ในลักษณะภาพรวมก่อน จึงกำหนดให้เป็นกลุ่มผู้ผลิต หรือกลุ่มผลิต หรือกลุ่มผู้ให้บริการที่ได้รับผลกระทบร่วมกัน
วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553
การส่งออกอาหารไปอเมริกาภายใต้กฎหมาย Bioterrorism Act จะต้องกำเนินการอย่างไร
วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553
มาตรการตรวจสอบสารตะกั่วในสินค้าก่อนการส่งออกไปอเมริการเป็ยอย่างไร
วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553
ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใข้สารที่เป็นอันตรายบางประเภทในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(The Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment
วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553
สหภาพยุโรปออกระเบียบปฏิบัติสินค้าเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2551 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศระเบียบปฏิบัติสินค้าเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่ (Commission Regulation (EC) No 889/2008) เพื่อเป็นบทเสริมและรองรับการปรับใช้กฎระเบียบสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นกรอบใหญ่ (Council Regulation (EC) No 834/2007) ซึ่งจะบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2552 เพื่อให้การผลิต การบรรจุภัณฑ์ การแปรรูป การเก็บรักษาและการขนส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ การติดฉลาก และการควบคุมสินค้าอินทรีย์ของประเทศสมาชิกเป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonization) และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันในการปฏิบัติต่อสินค้าที่ผลิตได้จากประเทศภายในสหภาพและจากประเทศที่สาม โดยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่ดังกล่าว สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. กำหนดรายละเอียดข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ดังนี้
1.1 การผลิตพืช (Plant production) เช่น การจัดการเรื่องดินและปุ๋ยเคมี การห้ามใช้ระบบ เพาะปลูกแบบไม่ใช้ดิน การจัดการเรื่องแมลงศัตรูพืช เชื้อโรค และวัชพืช เป็นต้น
1.2 การเลี้ยงปศุสัตว์ (Livestock production) ซึ่งครอบคลุมสัตว์ประเภทโค กระบือ รวมทั้ง bubalus bison สุกร แกะ แพะ สัตว์ปีก และผึ้ง เช่น แหล่งที่มาของสัตว์อินทรีย์/สัตว์ที่ไม่ใช่อินทรีย์ การเลี้ยงสัตว์ในโรงเลี้ยงและการเลี้ยงในทุ่ง ความหนาแน่นในการเลี้ยงสัตว์ การห้ามเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเกษตรกรรม เป็นต้น
1.3 การป้องกันโรคและการรักษาทางสัตวแพทย์ (Disease prevention and veterinary treatment) การแปรรูป (Processed product) การปรับเปลี่ยน (Conversion rules) การติดฉลากและการใช้ตราประจำสหภาพ (Community logo) และการควบคุมตรวจสอบ เป็นต้น
2. สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าต้องอยู่ในห่อบรรจุหรือในตู้สินค้าที่มีการปิดหีบห่ออย่างเคร่งครัด ไม่มีสินค้าอื่นสอดแทรก รวมทั้งต้องระบุรหัสผู้ส่งออก (Identification of the exporter) สัญลักษณ์ หมายเลขอื่นใดที่แสดงให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า lot นั้นๆ พร้อมกับใบรับรองการตรวจสอบการนำเข้าจากประเทศที่สาม (Certificate of control for import from third countries)
3. เมื่อสินค้าอินทรีย์จากประเทศนอกอียูส่งมาถึงอียู ผู้รับสินค้ารายแรกจะต้องตรวจสอบหีบห่อและตู้สินค้าว่ามีการปิดไว้อย่างมิดชิด รวมทั้งตรวจสอบใบรับรองการตรวจสอบการนำเข้าจากประเทศที่สาม ว่าครอบคลุมชนิดสินค้าที่ระบุใน lot สินค้านั้นๆ
4. ขยายเวลาการปรับใช้สัญลักษณ์ประจำสหภาพ (Community logo) ของสินค้าเกษตรอินทรีย์จากเดิมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติสินค้าเกษตรอินทรีย์ฉบับใหม่ (Commission Regulation (EC) No 889/008) สามารถดูได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2008:250:0001:0084:EN :PDF
ทั้งนี้ไทยอยู่ระหว่างรอการพิจารณาขึ้นบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่สามารถส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งคาดว่ากระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาการพิจารณาประมาณ 2-3 ปี
___________________________________________________
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
กลุ่มมาตรการ TBT
สำนักมาตรการทางการค้า
ตุลาคม 2551
www.dft.go.th
วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553
การทุ่มตลาด คืออะไร
ปัจจุบันมีสินค้าใดที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ตอบ สามารถค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.dft.go.th
การขำคำแนะนำ และยื่นคำร้องขอให้ไต่ส่วนการทุ่มตลาด ยื่นได้ที่ไหน
ตอบ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ สำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้ากรมการค้าต่างประเทศ พร้อมคำขอตามแบบที่กำหนดและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงว่ามีการทุ่มตลาด และทำให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในหรือขอคำแนะนำได้ที่ โทร. 02-547-4738-40
วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
REACH คืออะไร
วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553
ศูนย์ Possec ย่อมาจากอะไร และหมายความว่าอะไร
ศูนย์ Possec ย่อมาจากอะไร และหมายความว่าอะไร
ตอบ Possec ย่อมาจาก Perishable One Stop Service Export Center คือ ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกที่มีความพร้อมในการบริการและใช้เทคโนโลยี ช่วยในการจัดการตามหลักมาตรฐานสากล
Possec หมายความว่า เป็นศูนย์กลางการส่งออกผลิตผลพืชสดที่มีการใช้บริการในขั้นตอนพิธีการส่งออกทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น การบริการตรวจปล่อยสินค้าด้วยอาคารปรับลดอุณหภูมิเพื่อถนอมสินค้าระบบลำเลียงสินค้า Roller
A.T.A Carnet คืออะไร
ตอบ คือเอกสารสากลทางด้านศุลกากรที่ออกให้โดยหอการค้าของแต่ละประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการอนุญาตให้นำสินค้าภายใต้เอกสารดังกล่าวเข้าประเทศภาคีสมาชิก อนุสัญญาได้เป็นการชั่วคราวและนำกลับคืนออกมาภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้รับการยกเว้นการวางประกันค้าภาษีและการทำเอกสารด้านพิธีการศุลกากร
WEE คืออะไร เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออกอย่างไร
(2) เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก (3) อุปกรณ์ IT และอุปกรณ์สื่อสาร (4) เครื่องอุปโภค (5) เครื่องให้แสงสว่าง (6) เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเว้นเครื่องมืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ชนิดอยู่กับที่) (7) ของเล่น อุปกรณ์เพื่อความบันเทิง และอุปกรณ์กีฬา (8) เครื่องมือแพทย์ (ยกเว้นสินค้าที่ถูกปลูกถ่ายในร่างกาย และที่ติดเชื้อทั้งหมด) (9) เครื่องมือตรวจสอบและควบคุม (10) เครื่องขายของอัตโนมัติทั้งนี้ปัจจุบันเกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้บังคับใช้กฎหมายในลักษณะดังกล่าว ดังนั้นผู้ประกอบการของไทยที่ผลิต/ส่งออกสินค้าดังกล่าวต้องผลิตสินค้าดังกล่าวต้องผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระเบียบ WEEE เพื่อให้สามารถส่งออกและจำหน่ายสินค้าได้ โดยไม่ถูกตรวจพบข้อบกพร่องของสินค้า ณ ด่านนำเข้า
วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553
ในการติดต่อกับสำนักงานการค้าต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ จะสามารถหาที่อยู่ได้ จากที่ใด
ตอบ สามารถค้นหาข้อมูลได้จาก กรมส่งเสริมการส่งออก หรือ www.depthai.go.th
วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553
ใบรับรองการแปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือไม่ และต้องติดต่อหน่วยงานใด
ตอบ สามารถติดต่อได้ที่ กองสนธิสัญญา กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทร.02-507-7209
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553
มูลค่ารวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ส่งออก จะสามารถหาดูได้จากที่ใด
ตอบ สามารถหาดูข้อมูลได้ที่ สถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม หรือที่โทร. 02-712 2414 หรือ www.ops2.moc.go.th/tradeth/cgi/ex.comm2.asp
วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิพิเศษ GSP สินค้าเหล็กไปอียู จะสามารถหาดูได้จากที่ใด
ตอบ สอบถามข้อมูลได้ที่สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ และสามารถตรวจสอบอัตราภาษีได้ที่ http://exportelp.evropa.eu
วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
ต้องการทราบรายชื่อบริษัทที่อยู่ในอเมริกาที่ต้องการนำเข้าสินค้าเครื่องมือแพทย์จากประเทศไทย จะหาข้อมูลได้จากหน่วยงานใด
ตอบ สำหรับรายชื่อบริษัท ที่อยู่ในอเมริกาหรือตลาดต่างประเทศของอเมริกา สามารถค้นหาได้จาก สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ ประจำประเทศอเมริกาที่อยู่ Office of Commercial Royal Thai Embassy Washington. โทร. 001(202) 429 2949, 467 6790 ext. 19 หรือ กองสนเทศเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เว็บไซต์ www.mfa.go.th/business
วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลการค้าไทยในต่างประเทศ สามารถดูข้อมูลได้จากแหล่งใด
ตอบ ข้อมูลการค้าไทยในต่างประเทศสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เว็บไซต์ www.mfa.go.th ซึ่งจะมีข้อมูล ช่องทางการส่งออก/การลงทุน/ช่องทางธุรกิจ โดยจะแยกประเภทสินค้าเป็น สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม หรือติดต่อโดยตรงกับสำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ
ข้อมูลการรับจำนำข้าว จะสามารถหาดูได้จากหน่วยงานใดได้บ้าง
ตอบ สามารถติดต่อข้อมูลการรับจำนำข้าวได้ที่ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน โทร. 02-547-5502-4 หรือค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dit.go.th สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อยื่นขอความจำนงจำนำข้าวติดต่อได้ที่องค์การคลังสินค้า โทร. 02-507-5186, 02-507-5029, 02-507-5018
อาเซียน + สหภาพยุโรป
เริ่มเมื่อปี 2550(2007) เป็นการเจรจาระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค ครอบคลุมการเปิดตลาดสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรฐกิจด้านต่าง ๆ ด้วยปัญหาที่สหภาพยุโรปประสบในการเจรจาการค้ากับพม่า ทำให้สหภาพยุโรปเสนอการปรับรูปแบบการเจรจาเป็นการเจรจาทวิภาคีกับประเทศที่มีความมุ่งหวังสูงภายใต้กรอบภูมิภาคต่อภูมิภาค ขณะที่อาเซียนยืนยันการเจรจาระดับภูมิภาคในเดือนมีนาคา 2552 ถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้พักการเจรจาชั่วคราว อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปได้เริ่มหารือ 2 ฝ่ายระดับเจ้าหน้าที่กับสิงคโปร์ และเวียดนามแล้ว
วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553
การส่งออกแป้งมันสำปะหลัง ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ 1. จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ
2. แจ้งให้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานการผลิตของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าแป้งมันสำปะหลัง
3. ยื่นขอให้ออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า
4. ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
5. รายงานการส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้า (สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก)
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกไปสหภาพยุโรป มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร
ตอบ มันสำปะหลังเป็นสินค้ามาตรฐาน ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกซึ่งสินค้ามาตรฐาน ที่สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ
2. แจ้งให้มีการตรวจสอบสต็อกในครอบครอง (ในช่วงที่กำหนดให้มีการตรวจสอบ)
3. ขอรับใบอนุญาตส่งออก
4. จัดให้มีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า
5. ขอรับใบรับรองมาตรฐานสินค้า
6. ขอหนังสือรับรองการส่งออก (Export Certificate) ที่สำนักบริหารการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
7. รายงานการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังต่อสำนักงานมาตรฐานสินค้า (สำนักงานมาตรฐานการนำเข้าส่งออก)
สินค้ามาตรฐาน
ในการจดทะเบียนสินค้ามาตรฐานต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้ามาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก โดยแนบเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบทะเบียนการค้า ใบทะเบียนพาณิชย์ หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง กับสินค้ามาตรฐานชนิดที่ขอจดทะเบียน รูปถ่ายกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการหรือเจ้าของร้าน ขนาด 2.5 x 3 นิ้ว จำนวน 3 ภาพ ฯลฯ ใช้เวลาพิจารณาอนุมัติ 3-5 วันทำการ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้า (สำนักงานมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก) หรือสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ www.dft.go.th สินค้า >สินค้า>สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า>กฎระเบียบขั้นตอนการส่งออกสินค้ามาตรฐาน>หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐาน
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553
สินค้าข้าว
การนำเข้าตัวอย่างข้าวจากประเทศญี่ปุ่น ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ
ข้าวเป็นสินค้าภายใต้ WTO พิกัดศุลกากร 1006 ต้องขออนุญาตนำเข้าได้ที่ สำนักบริการการค้างต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
ขั้นตอนการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังต่างประเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 ยื่นคำขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าข้าวประเภทค้าส่งไปจำหน่าย ต่างประเทศที่ สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน (กำหนดอายุถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี)
ขั้นตอนที่ 2 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าว ที่สำนักบริหารการค้าข้าวกรมการค้าต่างประเทศ (หากส่งออกข้าวหอมมะลิไทยต้องจดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้ากรมการค้าต่างประเทศ โดยกำหนดอายุถึง วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี)
ขั้นตอนที่ 3 ขอใบอนุญาตส่งออกข้าว ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศกรมการค้าต่างประเทศ
ค่าใช้จ่ายในการส่งออกข้าวไปจำหน่ายยังต่างประเทศจำแนกเป็นอะไรบ้างและคิดเป็นจำนวนเงินเท่าไร
ตอบ 1. ยื่นคำขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการค้าข้าวที่สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัด ค่าธรรมเนียมปีละ 20,000 บาท
2. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าวที่ สำนักบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
3. การขอใบอนุญาตส่งออกข้าวต้องเสียค่าใช้จ่ายชุดละ 30 บาท
4. จดทะเบียนเป็นผู้ทำการค้าขาออกซึ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ที่สำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ ค่าธรรมเนียม 2,500 บาทและค่าธรรมเนียม ต่ออายุปีละ 200 บาท
5. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย โดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก (ขอรายชื่อบริษัทที่รับตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทยได้ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก) หรือสืบค้นข้อมูลได้ที่ www.dft.go.th (หัวข้อสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า)
5.1ะ ตรวจปล่อยสินค้าบรรทุกเรือใหญ่ หรือเรือลำเลียง ตันละไม่เกิน 18 บาท
5.2 ตรวจปล่อยสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ตู้แรกไม่เกิน 1,500 บาท ตู้ต่อไปตันละไม่เกิน 18 บาท
6. ค่าใช้จ่ายในการขอออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยที่สภา หอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับละ 220 บาท
7. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้าวชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทย ได้แก่ ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการตรวจข้าว สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีดังนี้
7.1 เป็นสมาชิกสภาหอการค้าฯ เก็บอัตราตันละ 2.50 บาท
7.2 ไม่เป็นสมาชิกสภาหอการค้าฯ เก็บอัตราตันละ 5 บาท
8. หากต้องการเป็นสมาชิกสมาคมผู้ส่งออกข้าวออกต่างประเทศ
8.1 ค่าสมาชิกแรกเข้า รายละ 20,000 บาท
8.2 ค่าบำรุงรายปี ปีละ 60,000 บาท หรือเดือนละ 500 บาท
8.3 ค่าบำรุงพิเศษ ตันละ 1.50 บาท โดยเก็บตามจำนวนตันของข้าวที่ส่งออก
ขั้นตอนการซื้อขายข้าว เงื่อนไขที่จำเป็นต้องทราบมีอะไรบ้าง
ตอบ การติดต่อหาลูกค้า เพื่อให้ได้คำสั่งที่ชัดเจนแน่นอน หรือการเจรจาซื้อขายเพื่อทราบรายละเอียดกำหนดเมืองท่าปลายทาง ชนิด เวลาส่งมอบ เงื่อนไขการส่งมอบ การตรวจสอบคุณภาพ การชำระเงิน การตั้งตัวแทน การกำหนดราคาซื้อขาย ให้ติดต่อสอบถามที่ สำนักบริหารการค้าธัญพืชและสินค้าข้อตกลง กรมการค้าต่างประเทศ หากต้องการทราบราคาข้าวซื้อขายภายในประเทศ และราคาส่งออกข้าว F.O.B.สามารถเข้าดูได้ทางเว็บไซต์ www.riceexporters.or.th ราคาข้าวดังกล่าวเป็นราคาประมาณการ และเปลี่ยนแปลงทุกวันพุธ โดยคณะกรรมการผู้ส่งออกข้าว
การขอใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยจะต้องทำอย่างไร
ตอบ ผู้ส่งออก โรงสี ผู้ค้าปลีก ค้าส่ง ภัตตาคาร ร้านอาหาร สามารถขอใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยได้ตามเงื่อนไขที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด โดยทำหนังสือแจ้งขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยต่อผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ เมื่อสำนักฯมีหนังสือแจ้งอนุญาตก็สามารถใช้เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยได้ตามเงื่อนไขกำหนด
วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553
สินค้าพวกเมล็ดผลิตภัณฑ์ที่ใช้สกัดทำน้ำมัน
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553
ใบชาสำเร็จรูป มีโควตามหรือไม่
ใบชาสำเร็จรูปชงแล้ว ถ้ามีกากเป็นสินค้ามีโควตา ต้องขออนุญาตินำเข้าที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ แต่ถ้าชงแล้วไม่มีกาก (instant) สามารถนำเข้าโดยใช้ชำระสิทธิเสียภาษีนอกโควต้าในอัตราปกติ