ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทุกอย่างมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมีแนวโน้มไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น (Free) ประเทศไทยคงจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือทุกฝ่ายต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ขณะนี้ประเทศไทยใช้นโยบายการค้าเสรีที่เป็นธรรมควบคู่ไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี นั่นคือ ยึดหลักพอประมาณ ไม่เกินตัว ใช้เหตุผลพิจารณา พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันให้มีการปรับตัวและพึ่งตนเองได้ โดย
- การเปิดเสรีต้องค่อยเป็นค่อยไป มีเวลาปรับตัวนาน รวมทั้งมีมาตรการคุ้มกันเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน
- มีมาตรการปรับตัวรองรับ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรไปแล้ว ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีด้วย
- กระตุ้นให้ผู้ได้รับประโยชน์ทราบถึงโอกาสและเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และสร้าง awareness สำหรับผู้ได้รับผลกระทบเพื่อสามารถปรับโครงสร้างปรับตลาด มีการสร้างความสามารถให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนา และสามารถพึ่งตนเองได้
- เจรจาเชิงรุก โดยมีท่าทีที่ชัดเจน มีความรู้และรอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรม
ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอคณะกรรมการนโยบาลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) พิจารณาทบทวนการทำ FTA ซึ่ง กนศ. ได้มีมติ ดังนี้
- ให้เดินหน้าเจรจา FTA ในกรอบอาเซียนต่อไป เช่น อาเซียน-จีน เป็นต้น
- สำหรับการจัดทำ FTA ระหว่างสองประเทศ หากไทยได้ประโยชน์ก็ให้เจรจาต่อไป
- หาก FTA ใด ประเทศไทยเสียเปรียบหรือยังไม่พร้อม ให้ชะลอ / ระงับการเจรจาไปก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น