วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
วิธีการ หลักเกณฑ์ในการนำเข้าเส้นไหม
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้าข้าวโพด
ตอบ
การใช้สิทธิพิเศษ AISP นั้นเป็นการลดหย่อนภาษีสินค้านำเข้าที่ประเทศไทยให้แก่สมาชิกอาเซียนใหม่ คือ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม สินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษมีดังนี้ คือ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดละหุ่ง ไม้ยูคาลิปตัส มันฝรั่ง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนประเทศลาวได้สิทธิพิเศษอีกชนิดคือ ลูกเดือย โดยผู้นำเข้าต้องขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศที่ส่งออกมาไทย
วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้ากระเทียมจากประเทศเพือนบ้าน
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้าหอมหัวใหญ่ โดยต้องใช้สิทธิพิเศษอาเซียน
วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553
การเป็นผู้ส่งออกกาแฟ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบพาณิชยกิจเป็นผู้ค้ากาแฟ หรือสินค้าทางการเกษตรออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
2. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาตกับกรมการค้าต่างประเทศขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกฯ และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
การรายงานการส่งออกกาแฟ จะต้องรายงานการรับซื้อกาแฟภายในกำหนดกี่วัน
ตอบ ผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาต จะต้องรายงานปริมาณการรับซื้อกาแฟดิบต่อกรมการค้าต่างประเทศเป็นประจำทุกเดือน ภายใน 7 วันทำการของเดือนถัดไปตามแบบพิมพ์ที่กำหนด
ข้อยกเว้นในการส่งออกกาแฟ มีอย่างไรบ้าง
ตอบ การส่งออกกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างในการซื้อขายโดยอยู่ในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
1) ผลกาแฟไม่เกิน 120 กิโลกรัม
2) กาแฟกะเทาะเปลือกแต่ยังมีเยื่อหุ้มไม่เกิน 75 กิโลกรัม
3) กาแฟเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วเกิน 60 กิโลกรัม
4) กาแฟเมล็ดคั่วแล้วไม่เกิน 50.4 กิโลกรัม
5) กาแฟผงหรือน้ำเชื้อหรือน้ำเคี่ยวข้นไม่เกิน 23 กิโลกรัม
6) การนำออกเพื่อใช้เฉพาะตัวหรือใช้ในยานพาหนะใดในปริมาณที่สมควร
การส่งออกสินค้ากาแฟปรุงสำเร็จ 3 in 1 พิกัด 2101.12 ซึ่งมีอัตราส่วนผสมน้ำตาลทราย ร้อยละ 54 ครีมเทียมร้อยละ 37 และกาแฟสำเร็จรูปร้อยละ 9 จะต้องขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกกาแฟหรือไม่
ตอบ กาแฟปรุงสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมกาแฟสำเร็จรูปร้อยละ 9 เมื่อแปรสภาพเป็นเมล็ดกาแฟดิบแล้วเท่ากับร้อยละ 23.40 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 90 (อัตราแปรสภาพเมล็ดกาแฟดิบเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟเท่ากับ 2:6:1) จึงถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมและสามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกกาแฟ
การนำเข้าสินค้าจำพวก งา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง จากประเทศเพื่อนบ้านมีขั้นตอนการนำเข้า อย่างไร
ตอบ การนำเข้าสินค้า งา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง จากประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา สปป.ลาว สหภาพพม่า) สินค้าถั่วเหลือง ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามระเบียบเปิดตลาดภายใต้ข้อตกลง WTO และต้องขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิทางภาษีก่อนนำเข้า โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองทางภาษีนำเข้ามีจำนวน 12 กลุ่ม สามารถนำเข้าได้โดยไม่จำกัดปริมาณ อัตราร้อยละ 0
2. ขอหนังสือรับรองจากสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ แสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
3. ผู้นำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตภายในประเทศตามราคาที่ทางการกำหนดโดยทำสัญญาไว้กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
4. ผุ้นำเข้า นำหนังสือรับรอง ทางภาษีประกอบการทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร สินค้างา ถั่วเขียว สามารถนำเข้าได้เสรีโดยผู้นำเข้าต้องทำพิธีการนำเข้าต่อศุลกากร
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553
Incoterms 2000
EXW ( .... ระบุสถานที่)
ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลังสินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ ณ คลังสินค้าของผู้ขาย ทั้งนี้ เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย
FCA ( .... ระบุสถานที่ )
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้าที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้รับขนสินค้า เช่นContainer Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย (เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร) Terms นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย container ด้วยวิธีที่เรียกว่า RO-RO ( roll on – roll off ) ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น CFS ถ้าการส่งมอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป ฯลฯ
FAS ( .... ระบุท่าต้นทาง)
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่ กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย กล่าวคือทั้งเสียอากรขาออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ ซึ่งต่างกับ Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง
FOB ( .... ระบุท่าต้นทาง)
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail) ไปเหนือลำเรือแล้ว ภาระในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯ) เป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น Termsนี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional) โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)
CFR ( .... ระบุท่าปลายทาง)
(โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้ เดิมใช้กันว่า C&F)
เช่นเดียวกันกับ FOB ข้างบน หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม แต่ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยง) ของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป
CIF ( .... ระบุท่าปลายทาง)
เช่นเดียวกับ CFR ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น และต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB หรือ CFR เท่านั้น เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ
CPT ( .... ระบุท่าปลายทาง)
เป็น term ใหม่ ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990 สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้งmultimodal transport ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้ ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier)ณ สถานที่รับของ ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ
CIP ( .... ระบุท่าปลายทาง)
เช่นเดียวกับ CPT ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF จะต่างกันก็ตรงที่ CIP ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น
DAF ( .... ระบุสถานที่)
สำหรับการขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น ณ พรมแดน ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
DES ( .... ระบุท่าปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว
DEQ ( .... ระบุท่าปลายทาง)
เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อต้องจัดการเอง เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่าย) คราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว
DDU ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่าเรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย
DDP ( .... ระบุสถานที่ปลายทาง)
ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่าอากรขาเข้าด้วย เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด การขนสินค้าลงจากยานพาหนะที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกันกับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง
วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553
ขนาดคอนเทนเนอร์
ประเภทของตู้สินค้า
1) Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้ล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ หากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing
2) Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าประเภทที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งทำตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียสโดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจติดอยู่กับตู้หรือมีปลั๊กใช้กระแสไฟฟ้าเสียบจากนอกตู้ ซึ่งจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า
3) Open Top เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตู้ได้
4) Flat-rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของ Container มาตรฐาน เป็นตู้คล้าย Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าลักษณะพิเศษ เช่น เครื่องจักรประติมากรรม,รถแทรกเตอร์ เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองในรูปแบบที่เป็น Slot ซึ่งเป็นลักษณะเรือที่เป็น Container
ที่มา:http://www.shipping2000.com
วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553
สินค้าที่มีมาตรการพิเศษทางการค้า
โดยปกติ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรทุกขนิดสามารถซื้อขายผ่านโครงการค้าแบบหักบัญชีได้ ยกเว้นบางประเทศที่มีข้อตกลงไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ประเทศอิหร่าน จะไม่นำสินค้านำมันขายให้ประเทศและประเทศไทยก็จะไม่นำสินค้าข้าวขายให้ประเทศอิหร่านผ่านโครงการเช่นกัน ส่วนประเทศอืน ๆ เช่น มาเลเซีย สหภาพพม่า และบังคลาเทศ ไม่มีการจำกัดชนิดของสินค้า
การค้าแบบหักบัญชี มีประโยชน์ต่อการสนับสนุนการส่งออกของไทยอย่างไร
1.เป็นการขยายช่องทางการค้าของไทย โดยเพิ่มมูลค่าและปริมาณการค้ากับประเทศคู่ค้าเดิมและประเทศคู่ค้าใหม่
2.เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านกลไกการค้าแบบใหม่เป็นประโยชน์ต่อผุ้ประกอบการทั้งการส่งออกและนำเข้า
3.ช่วยเพิ่มความมั้่นใจให้กับผู้ส่งออกว่า จะได้รับชำระเงินจากการส่งออกสินค้าแน่นอน เนื่องจากมีรัฐบาลทีั้งสองฝ่ายเข้าค้ำประกันการชำระเงิน
4.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการโอนเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากผุ้ส่งออกไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนเงินทุกรายการที่เรียกเก็บเงิน ทั้งนี้ เพราะการโอนเงินระหว่างประเทศจะกระทำเมื่อครบกำหนดระยะเวลาโดยธนาคารตัวแทนของแต่ละประเทศช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ Confirm L/C เนืองจากธนาคารตัวแทนของแต่ละประเทศจะเป็นผุ้รับรองการชำระเงินภายใต้ L/C ที่เปิดผ่านโครงการนี้
วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553
คำศัพท์ที่ควรรู้ เกี่ยวกับimport export
BAF (Bunker Adjuster Factor) ตัวปรับค่าน้ำมัน
B/L (Bill of lading) ใบตราส่งสินค้าทางเรือ
Surender B/L ใบตราส่งสินค้าที่ผู้รับใบตราส่ง สามารถรับใบสั่งปล่อยสินค้าที่ปลายทางได้โดยไม่ต้องใช้ใบตราส่งสินค้าต้นฉบับ
Shipped on Board เป็นคำที่ระบุใน B/Lมีความหมายว่าเรือสินค้าได้รับของไว้บนเรือเป็นที่เรียบร้อย
AWB(Air Waybill) ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ
HAWB(House Air Waybill) ใบตราขนส่งทางอากาศที่ออกโดย Freight Forwarder
CAF (Currency Adjustment Factor) ตัวปรับเงินสกุลค่าระวางเรือ
CFS (Container Freight Station) สถานีตู้สินค้า
CY (Container Yard) ลานตู้สินค้า
FCL (Full Container Load) สินค้าเต็มตู้
LCL (Less Than Container Load) สินค้าไม่เต็มตู้
Consolidation การรวบรวมสินค้า หรือ การรวมสินค้า โดยปกติจะกระทำโดยตัวแทนของผู้ซื้อสินค้า
TEU(Twenty-Foot Equivalent Unit ) ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต
FEU (Forty-Foot Equivalent Unit)
ตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต
THC (Terminal Handing Charge) ค่าใช้จ่ายที่ท่าในการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า
Freight Collect ค่าระวางจ่ายที่เมืองปลายทาง
Freight Prepaid ค่าระวางจ่ายที่ต้นทาง
Detention ค่าคืนตู้สินค้าที่ช้าเกินกว่าที่กำหนด
E.T.A (Estimate time of Arrival) วันที่ที่เรืองจะเข้าถึงท่าปลายทาง
E.T.D (Estimate time of Departure) วันที่ที่เรือจะออกจากท่าต้นทาง
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553
รวมเบอร์สำคัญเกี่ยวกับการส่งออก
1. กรมส่งเสริมการส่งออก ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 202,626 Fax. 0-2512-2250 E-mail tidep@depthai.go.th
2. สำนักเลขานุการกรม ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 230,231 Fax. 0-2512-1079 , 0-2513-5125 E-mail osdep@depthai.go.th
3. หน่วยตรวจสอบภายใน ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 208 E-mail laudit@depthai.go.th
4. สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 357 Fax. 0-2513-1904 E-mail ttdep@depthai.go.th
5. สำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้าในประเทศ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 702 Fax. 511-6008 E-mail titfd@depthai.go.th
6. สำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 292 Fax. 0-2512-2670 E-mail operdep@depthai.go.th
7. สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ
8. สำนักบริการส่งออก ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 259 Fax. 0-2512-2234 E-mail esdep@depthai.go.th
9. สำนักคณะผู้แทนการค้าและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 601 Fax. 0-2512-2235 E-mail pprdep@depthai.go.th
10. สำนักพัฒนาตลาดต่างประเทศ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 503 Fax. 0-2513-4358 E-mail intmk@depthai.go.th
11. สำนักแผนพัฒนาการส่งออก ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 331 Fax. 0-2513-9684 E-mail pdep@depthai.go.th
12. ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ ที่อยู่ 22/77 ถ.รัชดาภิเษก จตุจักร กทม. 10900 Tel. 0-2511-5066-77 , 0-2512-0093 ต่อ 342 Fax. 0-2512-4294 E-mail tidep@depthai.go.th
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553
การส่งออกซากสัตว์
วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเปลีอกหอย
ตอบ
ติดต่อกรมประมงเพื่อขอหนังสือรับรองชนิดของหอยและเปลือกหอย ประกอบการขอใบอนุญาตส่งออกต่อสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553
การส่งออกสุราและไวน์
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553
ภาษีการส่งออกกุ้งแช่แข็งไปอเมริกา
วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553
การส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์ไปประเทศกัมพูชา
วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้ายางพาราจากมาเลเซีย
วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553
สินค้า OTOP ของไทยหลายชนิดส่งไปจำหน่ายต่างประเทศมีขั้นตอนอย่างไร
สินค้า OTOP ต้องแยกเป็นประเภทของสินค้า
-อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต้องตรวจสอบสารปนเปื้อน ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสารธารณสุข โทร 02-590-7000
-ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเบญจรงค์ ต้องติดต่อที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทร.02-202-3301-4
-ผ้าพื้นเมือง สินค้าผ้าทอ ให้ดำเนินการขอทำใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าหรือหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอ ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับมาตรการทางการค้าของประเทศนั้นด้วย
วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553
กระเป๋าที่ทำจากหนังโค-กระบือ และต้องการส่งออกไปต่างประเทศ
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553
วัตถุโบราณ จำพวก ถ้วยชาม ส่งออกไปต่างประเทศ มีข้อห้ามหรือไม่
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553
การส่งดอกกล้วยไม้สดส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553
ขั้นตอน/วิธี และเอกสารประกอบในการส่งอาหารสำเร็จรูปไปอเมริกามีอย่างไรบ้าง
ตอบ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารคือ
1. ประเภทอาหารที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ดูแล คือ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์ ไข่ และผลิตภัณฑ์ ต้องทำตามระเบียบของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ โดยหาข้อมูลที่เว็บไซต์ : usfda.gov
2. อาหารประเภทอื่น นอกเหนือจากข้อ 1. ให้ทำตามระเบียบของหน่วยงานอาหารและยา สหรัฐฯ (USFDA) เว็บไซต์ : fda.gov รวมทั้งต้องจดทะเบียนสถานประกอบการอาหารภายใต้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ (Bioterrorism Act) ซึ่งครอบคลุมเฉพาะสินค้าที่ FDA (Food and Drug Administration) ดูแล สามารถตรวจสอบวิธีการลงทะเบียนทาง Internet และข้อมูลเกี่ยวกับ Bioterrorism Act ได้ที่เว็บไซต์ กรมการค้าต่างประเทศ : www.dft.go.th
วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553
สามารถนำเข้าไม้และสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้จากพม่าได้หรือไม่
ตอบ 1. ไม้และไม้แปรรูปทุกชนิด รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ซึ่งนำเข้ามาทางด่านศุลกากรที่บริเวณชายแดนเขตจังหวัดที่ติดต่อกับสหภาพพม่าและราชอาณาจักรกัมพูชา รวม 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และ ตราด จะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) หรือหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออกแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบพิธีการนำเข้า โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ
2. ห้ามนำเข้า ไม้ซุงท่อนและไม้แปรรูปประเภทไม้สัก ไม้ยาง และชนิดที่ตรงกับไม้หวงห้ามตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530
3. สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้ ที่นำเข้ามาทางพรมแดนบ้านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขะบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจุดนำเข้า-ส่งออก ในเขตอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และจดทะเบียนขออนุญาตตั้งโรงค้าสิ่งประดิษฐ์ไว้กับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมี C/O หรือหลักฐานการอนุญาตให้ส่งออกของประเทศที่ส่งออกแสดงต่อกรมศุลกากรประกอบการทำพิธีนำเข้า
วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553
ไม้ประเภทใดบ้างทีสามารถส่งออกได้
ตอบ อนุญาตให้ส่งไม้และไม้แปรรูปได้ในกรณีต่อไปนี้ โดยให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศกรมการค้าต่างประเทศ
1. ไม้ยางพารา อนุญาตให้ส่งออกโดยไม่จำกัดปริมาณ โดยแสดงหลักฐาน รายละเอียดเกี่ยวกับ ประเภท ชนิด ปริมาณ ราคา มูลค่าการซื้อขายสินค้าดังกล่าว
2. ไม้สน อนุญาตให้ส่งออกตาม ปริมาณที่กำหนดในหนังสือรับรองจากกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งกรมป่าไม้มอบหมาย ว่าเป็นไม้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
1. ไม้สนที่ตัดออกจากป่าในบริเวณที่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องใช้พื้นที่ป่าในบริเวณนั้น เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานนั้น ๆ
2. ไม้สนที่ตัดออกจากการตัดสางขยายระยะจากป่าสวนของกรมป่าไม้
3. ไม้สนประดิพัทธ์ที่ต้องตัดจากสวนไม้สนประดิพัทธ์ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์
การส่งออกกาแฟ
1. ขอบเขตการควบคุม
"สินค้าเมล็ดกาแฟ" ตามพิกัดศุลกากรที่ 0901 หมายถึง สินค้ากาแฟจะคั่วหรือแยกคาเฟอีนออกหรือไม่ก็ตาม เปลือกและเยื่อของกาแฟ รวมทั้งของที่ใช้แทนกาแฟที่มีกาแฟผสมอยู่ ในอัตราส่วนเท่าใด ก็ตาม
2. คุณสมบัติของผู้ส่งออก
3. ขั้นตอนการขออนุญาตส่งออก
3.1 ยื่นแบบแสดงความจำนงขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาต ที่กองการค้าสินค้าข้อตกลง กรมการค้าต่างประเทศ โดยกองการค้าสินค้าข้อตกลง จะออกหมายเลขประจำตัวผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาตให้ เพื่อใช้ในการขอรับใบอนุญาตส่งออกและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ากาแฟ โดยใช้แบบพิมพ์และเอกสารประกอบดังนี้
- แบบแสดงความจำนงขอจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาต
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
3.2 ยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าทั่วไป ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โดยใช้แบบพิมพ์และเอกสารประกอบดังนี้
- คำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าทั่วไป
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20 หรือ ภ.พ.01 หรือ ภ.พ.09)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง หรือหนังสืออนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย ของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคลตามที่ได้จดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลไว้
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามที่ได้จดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลไว้ ประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทน ในการยื่นขอใบอนุญาต และหนังสือรับรองการส่งออก สามารถกระทำได้โดยการมอบอำนาจเป็นหนังสือ ตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด พร้อมกับการยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้าทั่วไป
- คำร้องขอรับใบอนุญาตส่งออก แบบ อ 3
- ขออนุญาตส่งออก แบบ อ 4
- คำขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ากาแฟ
- แบบพิมพ์ ICO CERTIFICATE OF ORIGIN
- สำเนาใบกำกับสินค้า (INVOICE)
- สำเนาหลักฐานการชำระเงิน (L/C)
- เอกสารอื่น ๆ ที่กรมฯ เห็นสมควร
4. หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ส่งออก
5. การรายงาน
5.1 ผู้ส่งออกกาแฟรับอนุญาต จะต้องรายงานปริมาณการรับซื้อและการส่งออกเมล็ดกาแฟดิบ ต่อกรมการค้าต่างประเทศเป็นประจำทุกเดือน ภายใน 7 วันทำการของเดือนถัดไป ตามแบบพิมพ์ที่กำหนด
5.2 เมื่อสินค้าผ่านพิธีการตรวจปล่อยทางศุลกากรไปแล้วผู้ส่งออกจะต้องส่งสำเนาใบแรก (First Copy) ของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ากาแฟ พร้อมใบตราส่งสินค้า ให้กรมการค้าต่างประเทศ ภายใน 7 วันทำการหลังจากวันที่ส่งออกสินค้า
6. ข้อยกเว้นในการควบคุม
6.1 ผลกาแฟ ไม่เกิน 120 กิโลกรัม
6.2 กาแฟกะเทาะเปลือกแต่ยังมีเยื้อหุ้มอยู่ไม่เกิน75 กิโลกรัม
6.4 กาแฟเมล็ดคั่วแล้วไม่เกิน 50.4 กิโลกรัม
6.6 การนำออกเพื่อใช้เฉพาะตัว หรือใช้ในยานพาหนะใดในปริมาณที่สมควร
http://www.dft.go.th
วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553
การส่งออกผลไม้อบแห้งไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง สามารถทำได้หรือไม่
ตอบ สามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องทราบหลักเกณฑ์การนำเข้าของประเทศผู้ซื้อ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎระเบียบแตกต่างกัน และสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร.02-940-6466-8 และที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โทร. 02-561-2277
วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้าสินค้าผักผลไม้จากจีน
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553
ขออนุญาตินำรถยนต์เข้ามาใช้ในประเทศ
1.ผู้ยื่นขอ (กรณีคนไทย) ต้องอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน และเดินทางกลับมาอยู่ประเทศไทยเป็นการถาวร สำหรับผุ้ยื่นขอกรณีคนต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาติให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน (นับต้งแต่วันที่จดทะเบียนจนถึงวันที่เดินทางกลับ)
3.มีใบอนุญาติขับขีรถยนต์ของประเทศทีใช้รถ หรือใบอนุญาติขับขี่รถยนต์นานาชาติที่แสดงว่าได้ใช้รถยนต์คันนี้ ขออนุญาตินำเข้าในขณะที่ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถยนต์นั้นในต่างประเทศ
4.ให้นำเข้ามาใช้เฉพาะตัวเพียงคนละ 1 คัน
5.ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเว้นแต่ในกรณีตกทอดทางมรดกกฎหมาย
6.มีหลักฐานการมีภูมิลำเนาในประเทศไทย สามรถติดต่อขออนุญาตนำเข้ารถยนต์ได้ที่ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553
การนำเข้าสินค้า
การนำเขัาวัตถุอันตราย ไทยมีกฎหมายกำกับดูแลอยู่ภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กองควบคุมยุทธภัณฑ์ กระทรวงกลาโหม โทร 02-241-2094 และสำนักงานปรมาณูเพือสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร 02-579-5230,02-562-0123 หรือกรณีสินค้าเคมีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม โทร 02-202-3000
การนำเข้าตุ๊กตาหินทราย
ตุ๊กตาหินทราย และหินอ่อนแกะสลัก เป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้าตามประการกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้หินเป้นสินค้าที่ต้องของอนุญาติในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยจะความคุมการนำเข้าเฉพาะหินที่ จัดอยู่ภายใต้พิกัด 25.15, 6802.21.00 ,68o2.23.00 และพิกัด 6802.29.00
กรณีบุคคลธรรมดา นำเข้าหินอ่อน
บุคคลธรรมดาต้องการนำเข้าหินอ่อนเพื่อการประดับตกแต่ง ต้องขออนุญาติในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยไม่อนุญาติให้นำเข้ามาเพื่อการค้าซึ่งกรมการค้าต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทั้งก่อนและหลังการตกแต่งว่าเป็นการนำเข้ามาใช้ในสถานที่ที่ขออนุญาติจริง
การนำเข้าเครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้ว
เครื่องยนต์ดีเซลสำเร็จรูปที่ใช้แล้ว แบบลูกสูบนอนเดี่ยวที่มีความจุปริมาตรช่วงชักในกระบอกสูบตั้งแต่ 331 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถึง 1,100 ลุกบาศกืเซนติเมตร ต้องขออนุญาตินำเข้า โดยจะพิจารณาอนุญาติให้นำเข้าในปริมาณและตามช่วงเวลาที่กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุนเห็นชอบร่วมกัน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้วปริมาตรช่วงชักอื่น ๆ ไม่ต้องขออนุญาตินำเข้ากรมการค้าต่างประเทศ
การนำเข้ารถยนต์
การนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพและส่งออกไปยังประเทศที่สาม ผุ้ประกอบการจะขออนุญาตินำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพแล้วส่งออก จะต้องขึ้นบัญชีเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมปรับสภาพรถยนต์กับกรมการค้าต่างประเทศ และเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาติให้ประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออกการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตปลอดอากรกรมศุลกากร มีหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ในวงเงิน 1 ล้านบาทและจำต้องส่งออกรถยนต์ที่ปรับสภาพแล้วภายในระยะเวลา 1 ปี หากไม่ส่งออกภายในกำหนดจะต้องชำระค่าปรับในอัตราคันละ 4 เท่าของมูลค่า CIF แต่ต้องไม่ตำกว่า 1 แสนบาทต่อคัน และต้องรายงานการนำเข้า-ส่งออก ให้กรมการค้าต่างประเทศ ภานใน 30 วัน นับตั้งแต่การนำเข้าและส่งออก
วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553
ปลาสวยงามมีขั้นตอนในการส่งออกอย่างไร
ตอบ ปลาสวยงามมีชีวิต ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมงเพื่อประกอบพิธีการส่งออก ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกรมประมง โทร. 02-562-0600
การนำเข้า-ส่งออก อัญมณี
ไม่มีการควบคุม เว้น เพชรที่ยังไม่ได้เจียรไน ต้องขึ้นทะเบียนการนำเข้าที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศและในการส่งออกต้องขอหนังสือรับรอง (Kimberley Process) จากสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
การจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน
จะใช้เวลาในการขอจะทะเลียนการนำเข้า 1 สัปดาห์ได้ที สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ
การส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน
มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้ส่งออกต้องทำบัตรประจำตัวผุ้ส่งออก-นำเข้าสินค้า
2.ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน
3.รายงานปริมาณเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน คงเหลือตามแบบที่กำหนด
4.สมัครสมาชิกผุ้ใช้ระบบ EDI
5.ส่งข้อมูลทาง Internet เพื่อขอหนังสือรับรองการส่งออก (Kimberley Process Certificate)
6.ยื่นหลักฐานเอกสารตามระเบียบกำหนด ชำระเงินค่าหนังสือรับรองและรับหนังสือรับรอง
วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553
กฎระเบียบในการที่จะส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศ
ตอบ 1. ต้องขออนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกประเทศกับกรมปศุสัตว์หรือด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ ณ ท่าที่ส่งออก
2. คุณภาพมาตรฐานต้องเป็นไปตามข้อตกลงเงื่อนไข หรือข้อกำหนดของประเทศปลายทางและการส่งออกไปบางประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ เป็นต้น ต้องส่งออกจากโรงงานที่ได้รับการตรวจรับรองจากประเทศผู้นำเข้าแล้วนั้น
3. ต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จากกรมปศุสัตว์ประกอบการส่งออก ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกรมปศุสัตว์โทร. 02-653-4444 ต่อ 3121
4. กรณีส่งออกเนื้อไก่ปรุงแปรรูปและเนื้อหมักเกลือไปสหภาพยุโรปภายใต้โควต้านำเข้าหรือส่งออกเนื้อไก่ไปยังประเทศญี่ปุ่นภายใต้สิทธิความตกลง JTEPA ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อประกอบการนำเข้าด้วย
5. การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางของประเทศต้องส่งออกจากโรงงานที่ได้รับการรับรองฮาลาล