วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์จัดทำ FTA ของไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดทำ FTA กับ 9 ประเทศ และ 2 กลุ่มเศรษฐกิจ (ASEAN, BIMSTEC) โดยแบ่งตามสถานะการเจรจาเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1) FTA ที่เจรจาเสร็จและมีผลใช้บังคับแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย ( 82 รายการ )

2) FTA ที่ลงนามแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ ได้แก่ ญี่ปุ่น เปรู

3) FTA ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา ได้แก่ อินเดีย (สินค้าที่เหลือ บริการและการลงทุน) เปรู (สินค้าที่เหลือ บริการ และการลงทุน) BIMSTEC EFTA อาเซียน-จีน (บริการ การลงทุน) อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

4) FTA ที่มีการชะลอการเจรจา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และบาห์เรน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นโยบายการค้าเสรีกับเศรษฐกิจพอเพียง

ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทุกอย่างมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมีแนวโน้มไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น (Free) ประเทศไทยคงจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือทุกฝ่ายต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ขณะนี้ประเทศไทยใช้นโยบายการค้าเสรีที่เป็นธรรมควบคู่ไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี นั่นคือ ยึดหลักพอประมาณ ไม่เกินตัว ใช้เหตุผลพิจารณา พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันให้มีการปรับตัวและพึ่งตนเองได้ โดย

- การเปิดเสรีต้องค่อยเป็นค่อยไป มีเวลาปรับตัวนาน รวมทั้งมีมาตรการคุ้มกันเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน

- มีมาตรการปรับตัวรองรับ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรไปแล้ว ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีด้วย

- กระตุ้นให้ผู้ได้รับประโยชน์ทราบถึงโอกาสและเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และสร้าง awareness สำหรับผู้ได้รับผลกระทบเพื่อสามารถปรับโครงสร้างปรับตลาด มีการสร้างความสามารถให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนา และสามารถพึ่งตนเองได้

- เจรจาเชิงรุก โดยมีท่าทีที่ชัดเจน มีความรู้และรอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรม

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอคณะกรรมการนโยบาลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) พิจารณาทบทวนการทำ FTA ซึ่ง กนศ. ได้มีมติ ดังนี้

- ให้เดินหน้าเจรจา FTA ในกรอบอาเซียนต่อไป เช่น อาเซียน-จีน เป็นต้น

- สำหรับการจัดทำ FTA ระหว่างสองประเทศ หากไทยได้ประโยชน์ก็ให้เจรจาต่อไป

- หาก FTA ใด ประเทศไทยเสียเปรียบหรือยังไม่พร้อม ให้ชะลอ / ระงับการเจรจาไปก่อน

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

FTA : ยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อขยายการค้าการลงทุนของไทย

แนวคิดการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) มีมานานแล้ว โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศผู้นำในการจัดทำ FTA ในลำดับต้น ๆ ของเอเซีย จะเป็นรองก็เพียงสิงค์โปร์เท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2543 มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-เกาหลีใต้ หลังจากนั้นก็มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ มากขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงปี 2544-2546 มีการศึกษาถึง 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อียิปต์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย แอฟริกาใต้ ชิลี และออสเตรเลีย แต่ไทยก็ยังคงไม่ได้มีการตกลงเจรจา FTA กับประเทศใด

ในขณะที่อาเซียนเองก็มองเห็นว่า ไม่ว่าภูมิภาคยุโรปหรืออเมริกาต่างก็มีการขยายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจทั้งสิ้น อาเซียนจึงเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่ภูมิภาคนี้จะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อให้ภูมิภาคนี้แข็งแกร่ง น่าสนใจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2545 อาเซียนจึงได้ตกลงเจรจาจัดทำ FTA กับจีนเป็นครั้งแรก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แนวนโยบายในการจัดทำ FTA ของไทยก็เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีการเจรจาจัดทำ FTA ทั้งในระดับสองฝ่ายและลักษณะกลุ่ม

โดยที่ไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ประเทศจึงมีแนวนโยบายใช้ FTA เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า เพิ่มโอกาสในการส่งออก ขยายการค้า การลงทุนและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้งเปิดประตูการค้าไปสู่ตลาดเป้าหมาย แต่ก็ยังคงยึดถือและเข้าร่วมการประชุมเจรจาในกรอบ WTO อย่างแข็งขัน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2543 หลังการประชุม WTO ที่ Seattle ล้มเหลว ประเทศสมาชิกเริ่มหันไปทำ FTA ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแข่งขันเปิดเสรี โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยเองต่างก็มีการทำ FTA มาก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป เป็นต้น หากไทยไม่ทำก็อาจสูญเสียตลาด เนื่องจากประเทศอื่นได้มีการเปิดตลาดระหว่างกันไปแล้ว ถ้ายิ่งช้าไทยจะยิ่งเสียเปรียบ

ปัจจุบันประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีการเจรจาจัดทำ FTA กับหลายประเทศ เช่น

สหรัฐ - ทำ FTA แล้วกับ NAFTA, CAFTA, ANDEAN สิ่งคโปร์ ออสเตรเลีย เปรู ชิลี โมร็อกโก บาห์เรน จอร์แดน อิสราเอล และเกาหลี

- กำลังเจรจากับ มาเลเซีย ไต้หวัน และ GCC ฯลฯ

ญี่ปุ่น - ทำ FTA แล้วกับสิงคโปร์ เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

- อยู่ระหว่างเจรจากับ เกาหลี เปรู ชิลีและอิสราเอล

- เจรจากับไทยเสร็จแล้ว รอลงนามความตกลง

จีน - ทำ FTA แล้วกับ ชิลี ปากีสถาน และ ASEAN

- อยู่ระหว่างเจรจากับ อินเดีย, SACU และ GCC

สิงคโปร์ - ทำ FTA แล้วกับ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ชิลี ฯลฯ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนวทางเขตการค้าเสรี(3)

“การดำเนินการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA เพื่อขยายโอกาสและลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระห่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นและที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปรับตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคนี้ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ดียิ่งขึ้นในที่สุด เนื่องจาก FTA มีประโยชน์สำหรับประเทศไทยสามารถขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการยังประเทศคู่เจรจาได้มากขึ้น และยังส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถไปลงทุนในประเทศคู่เจรจาได้คล่องตัวขึ้นเช่นเดียวกัน

ดร.ธนวัฒน์ พลวิชัย

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

“FTA เหมือนเป็นการสอบ บังคับให้เราเข้าทิศทางที่ถูกต้อง ต้องปรับวิธีการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องจัดสรรเงินมาเพื่อจัดมาตรฐานส่วนการผลิต ซึ่งต้องทำเลย ปรับโครงสร้างทางการผลิตการเกษตรที่ดี และรวมกลุ่มเกษตรให้มีขนาดใหญ่เพื่อลดต้นทุน หากแก้ไขได้จะสามารถแปลงวิกฤตเป็นโอกาส”

พีรพล กลีบบัว

กูร์เมต์ ฟาร์ม

“ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทางการแพทย์ไทย เป็นที่ยอมรับระดับสากลคือการให้บริการรักษาพยาบาลในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยต่างชาติได้ตลอดเวลา การสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าวนอกจากจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากต่างชาติแล้ว ยังส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยรวมกับธุรกิจโรงพยาบาลและจุดสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่องเที่ยว สปา และธุรกิจลองสเตย์”

แพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล

โรงพยาบาลบางกอกเก้าอินเตอร์เนชั่นแนล

และเครือโรงพยาบาลบางประกอก

คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com