วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ไม้ประเภทใดบ้างที่สามารถส่งออกได้

ไม้ประเภทใดบ้างที่สามารถส่งออกได้
อนญาตให้ส่งไม้และไม้แปรรูปได้ในกรณีต่อไปนี้ โดยให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศกรมการค้าต่องประเทศ
1.ไม้ยางพารา อนุญาตให้ส่งออกโดนไม่จำกัดปริมาณ โดยแสดงหลักฐาน รายละเอียดเกี่ยวกับ ประเภท ชนิด ปริมาณ ราคา มูลค่าการซื้อขายสินค้าดังกล่าง
2.ไม้สน อนุญาตให้ส่งออกตาม ปริมาณที่กำหนดในหนังสือรับรองจากกรมป่าไม้ หรือผู้ซื้อกรมป่าไม้มอบหมาย ว่าเป็นไม้ที่อยู่ในหลักเกณฑ์กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
-ไม้สนที่ตัดออกจาป่าในบริเวณที่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องใช้พื้อนที่ป่าในบริเวณนั้น เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานนั้น ๆ
-ไม้สนที่ตัดออกจากการตัดสางขยายระยะจากป่าสวนของกรมป่าไม้
-ไม่สนประดิพัทธ์ที่ต้องตัดจากสวนไม้สนประดิพัทธ์ที่ปลูกในที่ดินกรรมสิทธ์
3.ไม้ที่ทำออกจากสวนป่า อนุญาตให้ส่งออกตามปริมาณที่กำหนดในหนังสือรับรองจากกรมป่าไม้หรือผู้ซึ่งกรมป่าไม้มอบหมาย
ทั้งนี้ ไม้สนและไม้ที่ออกจากสวนป่า ต้องแสดงหนังสือรับรองกรมป่าไม้หรือผู้ที่กรมป่าไม้มอบหมายว่าเป็ฯไม้ที่ทำออกจากสวนป่า ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น พร้อมด้วยสำเนาบัญชีราคาสินค้าหรือใบเสนอราคาสินค้าล่วงหน้า หรือหลักฐานการค้าอื่นใดที่แสดงรายละเอียดการซื้อขายสินค้าดังกล่าว สำหรับการส่งออกไม้สักสวนป่า จะอนุญาตให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เป็นผู้ส่งออก

การส่งออกปลาสวยงาม

ปลาสวยงามมีขั้นตอนในการส่งออกอย่างไร
ปลาสวยงามมีชีวิต ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง เพื่อประกอบพิธีการส่งออก ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกรมประมง โทร.
02-562-0600

ส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศ

กฎระเบียบในการที่จะส่งออกเนื้อไก่ไปต่างประเทศ
1.ต้องขออนุญาตนำซากสัตว์ออกนอกประเทศกับกรมปศุสัตว์หรือด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ณ ท่าที่ส่งออก
2.คุณภาพมาตรฐานต้องเป็นไปตามข้อตกลงเงื่อนไข หรือข้อกำหนดของประเทศปลายทองและการส่งออกไปบางประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ เป็นต้น ต้องส่งออกจากโรงงานที่ได้รับการตรวจรับรองจากประเทศผู้นำเข้าเท่านั้น
3.ต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จากกรมปศุสัตว์ประกอบการส่งออก ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อกรมปศสัตว์ โทร 02-653-4444 ต่อ 3121
4
.กรณีส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกแปรรูปและไก่หมักเกลือไปสหภาพยุโรป ภายใต้โควตานำเข้าต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อประกอบการนำเข้าด้วย
5.การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางต้องเป็ฯไปตามมาตรฐานฮาลาล

การส่งออกผลไม้อบแห้งไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

การส่งออกผลไม้อบแห้งไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง สามารถทำได้หรือไม่
สามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ ผู้ส่งออกต้องทราบหลักเกณฑ์การนำเข้าของประเทศผู้ซื้อ เนื่องจากแต่ละเประเทศมีกฎระเบียบแตกต่างกัน และสามารถขอข้อมูลเพื่อเติมได้จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร
02-940-6466-8 และที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ โทร 02-561-2277

การนำเข้าสินค้า-ส่งออก ผักผลไม้ของจีน

ขั้นตอนเบื้อยต้นในการนำเข้าสินค้าผักผลไม้ของจีน มีอย่างไรบ้าง
1.ปัจจุบันผลไม้ของไทยที่จีนอนุญาตให้นำเข้าได้มี 23 ชนิด คือทุเรียน ลำไย มังคุด สัปปะรด ละมุด กล้วย เสาวรส ลิ้นจี่ มะพร้าว น้อยหน่า มะขาม มะละกอ มะเฟือง มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ชมพุ่ สละ ลองกอง ส้มเขียวหวาน ส้ม และส้มโอ ทั้งนี้ทุเรียนและมะม่วงจะต้องมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร
2.จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกและทะเบียนโรงคัดบรรจุกับกรมวิชาการเกษตร
3.ภาชนะหรือกล่องบรรจุ ต้องระบุข้อความที่กำหนดดังนี้
-ชื่อบริษัทผู้ส่งออก
(Name of Exporting Company)
-ชนิดผลไม้ (Fruit Type)
-หมายเลขโรงหีบห่อจดทะเบียน (ทะเบียนโรงคัดบรรจุ)
-วันที่บรรจุ
(Packing Date)
-ประเทศปลายทาง
-ระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ว่า
Export to the Peoples Republic of China
4.ต้องปาศจากโรงแมลง เศษกิ่ง ก้าน ใบ และดิน และต้องไม่พบสาร Methamidophos ผลไม้ที่ส่งออก ส่วนลำไยส่งออกมีข้อกำหนดในการใช้สารบัฟเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ต้องไม่เกิน 50 ppm. (เนื้อใน) ลำไยและลิ้นจี่มีก้านยาวไม่เกิน 15 ซม. ภาชนะบรรจุต้องใหม่ สะอาด และระบุข้อความตามที่กำหนด
5.ผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีน ไม่เสียภาษีนำเข้า โดยต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form E) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศจีน สามารถขอ Form E ได้ที่สำนักงานบริการการค้าต่องประเทศ โทร.02-547-4771-86 อย่างไรก็ตาม จีนเก็บภาษีมูลค่าเพื่อร้อยละ 13 และหากส่งผ่านมณฑลใดจะต้องศึกษากฎระเบียบของมณฑลนั้นด้วย เช่น มณฑลกวางตุ้ง ผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าผลไม้จาก AQSIQ ต้องใช้เวลา 30-40 วัน

การนำเข้ารถยนต์ใช้แล้ว

การนำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพและส่งออกไปยังประเทศที่สาม มีกฎระเบียบอย่างไร
ผู้ประกอบการที่จะขออนุญาตินำเข้ารถยนต์ใช้แล้วเพื่อปรับสภาพ แล้วส่งออก จะต้องขึ้นบัญชีเป็นผู้ประกอบอุตสาหรรมปรับสภาพรถยนต์กับกรมการค้าต่างประเทศ และเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตให้ประกอบอุตสากรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออกกานนิคมอุตสาหรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตปลอดอากรกรมศุลกากร มีหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ในวงเงิน 
1 ล้านบาท และจะต้องส่งออกรถยนต์ที่ปรับสภาพแล้วภายในระยะเวลา 1 ปี หาไม่ส่งออกภายในกำหนดจะต้องชำระค่าปรับในอัตรราคันละ 4 เท่าของมูลค่า C.I.F แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อคัน และต้องรายงานการนำเข้าและส่งออก 

การนำเข้ารถยนต์ลักษณะพิเศษ มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร
ต้องยื่นขออนุญาตนำเข้าที่สำนักบริหารการค้าสินค้าทั่วไปโดยมีหลักเกณฑ์อนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง


ขั้นตอนการขออนุญาตนำรถยนต์ที่ใช้อยู่ในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย จะต้องทำอย่างไรบ้าง
1.ผู้ยื่นขอ (กรณีคนไทย) ต้องอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี 6 เดือน และเดินทางกลับมาอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร สำหรับผู้ยื่นขอกรณีคนต่างประเทศ จะต้องได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.ถือกรรมสิทธ์หรือครอบครองรถในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจนถึงวันที่เดินทางกลับ)
3.มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศที่ใช้รถ หรือใบอนุญาติขับขี่รถยนต์นานาชาติที่แสดงว่าได้ใช้รถยนต์คันนี้ ขออนุญาตนำเข้าในขณะที่ถือกรรมสิทธ์หรือครอบครองรถยนต์นั้นในต่างประเทศ
4.ให้นำเข้ามาใช้เฉพาะตัวเพียวคนละ 1 คัน
5.ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาติให้นำเข้า เว้นแต่ในกรณีตกทอดทางมรดกกฎหมาย
6.มีหลักฐานการมีภูมิลำเนาในประเทศไทยสามารถติดต่อขออนุญาตนำเข้ารถยนต์ได้ที่ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ 

การนำเข้าเครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้ว

การนำเข้าเครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้ว สามารถทำได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร
เครื่องยนต์ดีเซลสำเร็จรูปที่ใช้แล้ว แบบลูกสูบนอนเดี่ยวที่มีความจุปริมาตรช่วงชักในกระบอกสูบตั้งแต่
331 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถึง 1,100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องขออนุญาตนำเข้า โดยจะพิจารณาอนุญาติให้นำเข้าในปริมาณและตามช่วงเวลาที่กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้เป็ฯชอบร่วมกัน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลใช้แล้ว ปริมาตรช่วงชักอื่น ๆ ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้ากรมการค้าต่างประเทศ



การนำเข้าตุ๊กตาหินทรายตัวอย่างหินอ่อน

การนำเข้าตุ๊กตาหินทรายตัวอย่างหินอ่อน และหินอ่อนแกะสลักเป็นอย่างไร
ตุ๊กตาหินทรายและหินอ่อนแกะสลัก เป็นสินค้าที่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมการนำเข้าตามประกาศการทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้หินเป็ฯสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.
2551 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยจะควบคุมการนำเข้าเฉพาะหินที่จัดอยู่ภายใต้พิกัด 25.15 (ยกเว้นหินอ่อนก้อน พิกัด 2515.12.10), 6802.21.00, 6802.23.00 และพิกัด 6802.29.00


กรณีบุคคลธรรมดาต้องการนำเข้าหินอ่อนเพื่อการประดับหรือตกแต่งโรงแรงหรือบ้านพักอาศัยจะต้องดำเนินการอย่างไร
หากหินที่ขอนำเข้าต้องอยู่ในข่ายควบคุมตามข้างต้น ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้หินเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.
2551 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยไม่อนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อการค้าซึ่งกรมการค้าต่องประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทั้งก่อนและหลังการตกแต่งว่าเป็นการนำเข้ามาใช้ในสถานที่ที่ขออนุญาตจริง

การนำเข้าสินค้าที่ใช้ในการผลิตอาวุธ

การนำเข้าสินค้าที่ใช้ในการผลิตอาวุธ มีข้อห้ามหรือไม่ และดำเนินการอย่างไร
การนำเข้าวัตถุอันตราย ไทยมีกฎหมายกำกับดูแลอยู่ภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กองควบคุมยุทธภัณฑ์ กระทรวงกลาโหม โทร.
02-241-4094 และสำหนักงานปรมณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.02-579-5230, 02-562-0123 หรือกรณีสินค้าเคมีอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม โทร.02-202-3000

การจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเพชร

การจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน จะใช้เวลากี่วัน
สามารถขอจดทะเบียนการนำเข้าโดยการใช้เวลา
1 สัปดาห์ได้ที่ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ

การส่งออกเพชรที่ยังไม่ได้เจียรไน มีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร
ติดต่อที่สำนักบริการการค้าต่องประเทศ มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้ส่งออกต้องทำบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า
2.ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน
3.รายงานปริมาณเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน คงเหลือตามแบบที่กำหนด
4.สมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้ระบบ EDI
5
.ส่งข้อมูลทาง Internet เพื่อขอหนังสือรับรองการส่งออก (Kemberley Process Certificate)
6
.ยื่นหลังฐานเอกสารตามระเบียบกำหนด ชำระค่าหนังสือรับรองและรับหนังสือรับรอง

การขออนุญาตนำเข้า ส่งออก อัญมณี

การขออนุญาตนำเข้า ส่งออก อัญมณี ต้องดำเนินการอย่างไร
การนำเข้า ส่งออก อัญมณีไม่มีการควบคุม ยกเว้นเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน ต้องขึ้นทะเบียนการนำเข้าที่สำนักบริการการค้าต่องประเทศ กรมการค้าต่างประเทศและในการส่งออกต้องขอหนังสือรับรอง
(Kimberley Process) จากสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศเช่นกัน

ทอง และทองคำขาว สามารถนำเข้าได้หรือไม่

ทอง และทองคำขาว สามารถนำเข้าได้หรือไม่ และมีมาตรการในการนำเข้าอย่างไร
ทองคำเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้า ตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่
4) พ.ศ. 2494 และ ประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2505 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบ้างอย่าง พ.ศ.2482 ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำทองคำเข้ามาในราชอาณาจักร รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 02-273-9020 ต่อ 3204 ส่วนทองคำขาว สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากไม่มีมาตรการความคุมการนำเข้า

การนำเข้าเศษพลาสติก ต้องดำเนินการอย่างไร

เศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติก เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร์ ซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้มีอำนาจอนุญาติ รายละเอียดติดต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม โทร 02-202-4000, 02-202-4014 หรือค้นหาข้อมูลได้ที่ www.diw.go.th

การนำเข้าตลับเกมส์หรือแผ่นCD จากประเทศญี่ปุ่น จะต้องดำเนินการอย่างไร

เครื่องเล่นเกมส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้าตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำเครื่องเล่นเกมส์เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2548 จำนวน 7 รายการ ดังนี้
1.สล๊อทแมชีน (Slot Machine) หรือเครื่องเล่นเกมส์ที่คล้ายกัน
2.ตู้ม้าแข่ง หรือสนามม้าแข่งจำลอง หรือเครื่องเล่นเกมส์ที่คล้ายกัน
3.ปาซิงโก๊ะ (Pachinko) หรือเครื่องเล่นเกมส์ที่คล้ายกัน
4.รูเล็ท (Roulette)หรือเครื่องเล่นเกมส์ที่คล้ายกัน
5.เครื่องเล่นเกมส์ที่ทำงานโดยใช้เหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งที่คล้ายกัน หรือโดยวิธีการอื่นใดที่มีวิธีการเล่นไม่ว่าจะอาศัยทักษะ หรือความสามารถของผู้เล่นประกอบการเล่นหรือไม่ก็ตาม หากผู้เล่น เล่นชนะหรือสามารถทำได้ตามข้อกำหนดของเครื่องที่ระบุไว้ จะมีเหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นใดออกมาจากเครื่องเล่นเกมส์นั้น นอกจากเครื่องอุปกรณ์โบวลิ่ง
6.ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ประกอบ ประเภทชิพ (Chip) ที่ระบุตัวเลขใช้แทนเงินตามในการเล่นเกมส์กับเครื่องเล่นเกมส์ตามข้อ 1-5
7.ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมส์ตามข้อ 1-5 เครื่องเล่นเกมส์นอกเหนือจาก 7 รายการดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้เป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าของกระทรวงพาณิชย์ในขณะนี้

การนำเข้ายา เภสัช เคมีภัณฑ์ สามารถทำได้หรือไม่

การนำเข้ายา เภสัช เคมีภัณฑ์ สามารถทำได้หรือไม่ และต้องการดำเนินการอย่างไร
สามารถนำเข้าได้ โดยต้องขออนุญาตการนำเข้าได้ที่ สำหนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โดยมีหนังสือความเห็นชอบให้นำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โทร
02-590-7000 หรือความเห็นชอบจากกรมโรงงานฯ โทร.02-202-4000 มาแนบประกอบคำขอฯ

ขั้นตอนการนำเข้าสารโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีขั้นตอนอย่างไร

ผู้นำเข้าขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขอนำเข้า ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศก่อนวันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนด

สินค้าที่มีมาตรการนำเข้าและส่งออก คืออะไร

สินค้าที่มีกฎเกณฑ์ / ระเบียบ  / หลักเกณฑ์ / หรือวิธีการเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก รวมถึงสินค้าที่ห้ามนำเข้าและส่งออก

หากต้องการส่งสินค้าเสื้อผ้าไปยังสหภาพยุโรป โดยไม่มีโรงงานผลิต

หากต้องการส่งสินค้าเสื้อผ้าไปยังสหภาพยุโรป โดยไม่มีโรงงานผลิต สามารถส่งออกได้หรือไม่ ยื่นเอกสารประกอบอะไรบ้าง
สามารถทำได้ โดยมีเอกสารประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
(C/O Textile) มีดังนี้
1.สำเนาหรือภาพถ่ายใบกำกับสินค้า (invoice) ที่รับรองความถูกต้องของเอกสารแล้ว
2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading/Air waybill) หรือเอกสารอื่นที่แสดง การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่รับรองความถูกต้องเอกสารแล้ว
3.เอกสารแสดงสถานที่ผลิตหรือสถานที่ซื้อสินค้า ตามประการกรมการค้าต่างประเทศ
ทั้งนี้การส่งออกดังกล่าว ถ้าเป็นเสื้อยืดที่เชิ๊ต (รายการ
4) เสื้อกันหนาวผ้าถักหรือผ้ายืด (รายการ5) กางเกงผ้าทอ (รายการ6) เสื้อสตรีผ้ายืดหรือผ้าทอ (รายการ7) เสื้อกระโปรงชุดติดกันผ้ายืดหรือผ้าทอ (รายการ26) และเสื้อชั้นในสตรีผ้ายืดหรือผ้าทอ (รายการ31) ต้องยื่นเอกสารรายงานการส่งออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองฯ ดังนี้
-สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่รับรองความถูกต้องของเอกสารแล้ว
-สำเนาหรือภาพถ่ายใบขนสินค้าออกที่ได้ยื่นผ่านพิธีการศุลกากรโดยลงเลขที่รับ(เลขที่ใบขนสินค้าแล้ว) ที่รับรองความถูกต้องของเอกสารแล้ว

การยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดทาง internet มีขั้นตอนอย่างไร

ในการยื่นขอตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดทางระบบอินเตอร์เน็ต จะต้องยื่นขอรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน (username/password) ก่อน จึงจะสามารถบันทึกข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าและส่งข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ โดยมีขั้นตอนในการขอรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านดังนี้
1.เข้าเว็บไซด์กรมการค้าต่างประเทศ ที่ www.dft.go.th
2
.คลิกภาพสี่เหลี่ยม(แบนเนอร์) ที่อยู่ด้านขวาของหน้าจอที่ “e foreign Trade”
3
.คลิกภาพสี่เหลี่ยม(แบนเนอร์) ที่ “ตรวจแหล่งกำเนิดสินค้า”
4.เมื่อปรากฎหน้าจอ “Security Alert” ให้คลิก “Yes”
5
.คลิกที่แท็บ “ลงทะเบียนใหม่”
6.บันทึกข้อมูลลงทะเบียนลงในระบบและยืนยันคำรับรองฯ พร้อมพิมพ์ข้อมูลจากระบบโดย จะต้องลงนามในเอกสารคำขอลงทะเบียนและคำรับรอบฯ
7.นำเอกสารคำขอลงทะเบียนและคำรับรองฯ พร้อมเอกสารประกอบมายื่นที่สำนักบริหารการนำเข้า
8.เอกสารที่ต้องนำมายื่นขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน ได้แก่
-แบบคำขอลงทะเบียนเป็นผู้ขอสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร
-คำรับรองของผู้ใช้ระบบบริการตรวจรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านระบบ
Internet และ XML กับกรมการค้าต่างประเทศ
-สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิด
6เดือน)
-สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.
20) ที่รับรองความถูกต้องของเอกสาร
-หนังสือมอบอำนาจให้ยื่นและรับรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่รับรองความถูกต้องของเอกสารแล้ว

สินค้าสิ่งทอ
ผู้ส่งออกสินค้าสิ่งทอสามารถใช้สิทธิพิเศษอะไรได้บ้าง
ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรเพื่อให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากรขาเข้าของสินค้าส่งออก ณ ประเทศปลายทาง จะต้องยื่นตรวจสอบสินค้าที่ส่งออกว่าผลิตถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดตามที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบหรือไม่ ถ้ามีคุณสมบัติถูกต้องก็กำเนินการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อนำแสดงต่อศุลกากรกับประเทศต่าง ๆ มีด้วยกัน
4 ระบบ คือ
1.ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP)
2.ระบบการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
3
.ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (GSTP)
4
.ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ไทยทำกับประเทศต่าง ๆ

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

EDI (Electronic Data Interchange)

หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ EDI ที่นำมาใช้กับการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า ได้มีการพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสะดวกต่อการให้บริการโดยมีค่าใช้จ่ายลดลง กล่าวคือในระบบใหม่จะอยู่ในรูปแบบของ Wep Application ซึ่งเป็นระบบเปิด ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสามารถ ยื่นคำขอหนังสือสำคัญฯ ผ่านระบบ Internet จึงทำให้ยื่นคำขอที่ใดก็ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การสมัคร EDI มีประโยชน์อย่างไร
1.ใช้ในการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสินค้า ณ ประเทศปลายทางได้แก่ Form A, Form D, Form FTA, Form GSTP และ Form E สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน รวมทั้งหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไป ที่ออกให้ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุ ในหนังสือรับรองฯ เป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
2.เพื่อใช้สำหรับการขอหนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้าที่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น สินค้าสิ่งทอ มันสำปะหลัง เป็นต้น หนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีภายใต้ WTO ทั้งในและนอกโควตาสำหรับสินค้าเกษตร 22 รายการ เช่น ชา กาแฟ หอม กระเทียม
3.ใบอนุญาติการส่งออก-นำเข้าสินค้าที่มีมาตรการจัดระเบียบการส่งออกและนำเข้าเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของประเทศ เช่น ใบอนุญาติการส่งออกสินค้าข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไม้ยางพารา ไม้สน ไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น ใบอนุญาตนำเข้าสิ้นค้า กาแฟ ชา(ชาใบ,ชาผง) รถยนต์ใช้แล้ว รถยนต์ดัดแปลงสภาพ สินค้ายา และเคมีภัณฑ์รวม 16 ชนิด เป็นต้น

การยื่นขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สามารถยื่นได้กี่วิธี
สามารถยื่นได้
2 วิธี ดังนี้
1.ระบบปกติ (Manual) มีขั้นตอนดังนี้
-ซื้อแบบพิมพ์คำขอและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
-พิมพ์ข้อมูลลงในแบบคำขอและหนังสือรับรองฯ
-ยื่นคำขอและแบบพิมพ์หนังสือรับรอง ที่พิมพ์เรียบร้อยแล้วพร้อมเอกสารแนบ
-รับหนังสือรับรองฯ
ทุกขั้นตอนให้แสดงบัตรประจำตัวฯ ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้
2.ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Internet)
ก่อนใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ยื่นขอสมัครเป็ฯสมาชิกผู้ใช้ระบบและเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อใช้ในการ
Log in เข้าสู่ระบบผ่าน Internet
การขอหนังสือรับรองฯ ผ่าน
Internet มีขั้นตอนดังนี้
-
Log in เข้าสู่ระบบผ่านทาง homepage กรมการค้าต่างประเทศ WWW.dft.go.th เพื่อบันทึกข้อมูลคำขอผ่าน internet
-รับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าผ่านหน่วนงานให้บริการโดยแสดงบัตรประจำตัวฯ ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้

การขอ Form ผ่านระบบ EDI มีขั้นตอนในการขออย่างไรบ้าง และสมัครได้ที่ไหน
1.ยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ใช้บริการในระบบ EDI
2.เข้ารับการฝึกอบรมวิธีการใช้ระบบในการใช้งาน
3.ทดสอบรับ-ส่ง ข้อมูลด้านระบบหลังการฝึกอบรม
4.รับ Password เพื่อใช้งานขอหนังสือสำคัญการส่งออก-นำเข้า
5.ส่งคำขอพร้อมบันทึกรายละเอียดข้อมูลของ Form ที่ต้องการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์จากสำนักงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
6.รับหนังสือรับรองได้ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ ทั้งนี้โครงการขอสมัครไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถขอรับใบสมัครและยื่นใบสมัครที่ สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ

การขอ Form ผ่านระบบ EDI สามารถใช้กับแบบพิมพ์อะไรได้บ้าง
สามารถใช้กับทุกแบบของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด ได้แก่
Form A, Form D, Form FTA, Form C/Oทั่วไป, Form C/O Mexico และ C/O Textile และใช้กับการขอแบบพิมพ์ใบอนญาตินำเข้า-ส่งออก สินค้าทั่วไป ได้แก่ ข 4, 4 เป็นต้น
คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com