วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สถานการณ์จัดทำ FTA ของไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดทำ FTA กับ 9 ประเทศ และ 2 กลุ่มเศรษฐกิจ (ASEAN, BIMSTEC) โดยแบ่งตามสถานะการเจรจาเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1) FTA ที่เจรจาเสร็จและมีผลใช้บังคับแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน อินเดีย ( 82 รายการ )

2) FTA ที่ลงนามแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ ได้แก่ ญี่ปุ่น เปรู

3) FTA ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา ได้แก่ อินเดีย (สินค้าที่เหลือ บริการและการลงทุน) เปรู (สินค้าที่เหลือ บริการ และการลงทุน) BIMSTEC EFTA อาเซียน-จีน (บริการ การลงทุน) อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

4) FTA ที่มีการชะลอการเจรจา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และบาห์เรน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

นโยบายการค้าเสรีกับเศรษฐกิจพอเพียง

ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทุกอย่างมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมีแนวโน้มไปสู่การเปิดเสรีมากขึ้น (Free) ประเทศไทยคงจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือทุกฝ่ายต้องปรับตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ขณะนี้ประเทศไทยใช้นโยบายการค้าเสรีที่เป็นธรรมควบคู่ไปกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี นั่นคือ ยึดหลักพอประมาณ ไม่เกินตัว ใช้เหตุผลพิจารณา พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันให้มีการปรับตัวและพึ่งตนเองได้ โดย

- การเปิดเสรีต้องค่อยเป็นค่อยไป มีเวลาปรับตัวนาน รวมทั้งมีมาตรการคุ้มกันเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน

- มีมาตรการปรับตัวรองรับ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรไปแล้ว ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ก็ได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีด้วย

- กระตุ้นให้ผู้ได้รับประโยชน์ทราบถึงโอกาสและเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และสร้าง awareness สำหรับผู้ได้รับผลกระทบเพื่อสามารถปรับโครงสร้างปรับตลาด มีการสร้างความสามารถให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนา และสามารถพึ่งตนเองได้

- เจรจาเชิงรุก โดยมีท่าทีที่ชัดเจน มีความรู้และรอบคอบ โปร่งใส เป็นธรรม

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอคณะกรรมการนโยบาลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) พิจารณาทบทวนการทำ FTA ซึ่ง กนศ. ได้มีมติ ดังนี้

- ให้เดินหน้าเจรจา FTA ในกรอบอาเซียนต่อไป เช่น อาเซียน-จีน เป็นต้น

- สำหรับการจัดทำ FTA ระหว่างสองประเทศ หากไทยได้ประโยชน์ก็ให้เจรจาต่อไป

- หาก FTA ใด ประเทศไทยเสียเปรียบหรือยังไม่พร้อม ให้ชะลอ / ระงับการเจรจาไปก่อน

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

FTA : ยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อขยายการค้าการลงทุนของไทย

แนวคิดการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) มีมานานแล้ว โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศผู้นำในการจัดทำ FTA ในลำดับต้น ๆ ของเอเซีย จะเป็นรองก็เพียงสิงค์โปร์เท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2543 มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-เกาหลีใต้ หลังจากนั้นก็มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ มากขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงปี 2544-2546 มีการศึกษาถึง 8 ประเทศ ได้แก่ จีน อียิปต์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย แอฟริกาใต้ ชิลี และออสเตรเลีย แต่ไทยก็ยังคงไม่ได้มีการตกลงเจรจา FTA กับประเทศใด

ในขณะที่อาเซียนเองก็มองเห็นว่า ไม่ว่าภูมิภาคยุโรปหรืออเมริกาต่างก็มีการขยายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจทั้งสิ้น อาเซียนจึงเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่ภูมิภาคนี้จะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อให้ภูมิภาคนี้แข็งแกร่ง น่าสนใจ และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น ในปี 2545 อาเซียนจึงได้ตกลงเจรจาจัดทำ FTA กับจีนเป็นครั้งแรก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แนวนโยบายในการจัดทำ FTA ของไทยก็เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีการเจรจาจัดทำ FTA ทั้งในระดับสองฝ่ายและลักษณะกลุ่ม

โดยที่ไทยพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศกว่าร้อยละ 60 ของรายได้ประเทศจึงมีแนวนโยบายใช้ FTA เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า เพิ่มโอกาสในการส่งออก ขยายการค้า การลงทุนและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้งเปิดประตูการค้าไปสู่ตลาดเป้าหมาย แต่ก็ยังคงยึดถือและเข้าร่วมการประชุมเจรจาในกรอบ WTO อย่างแข็งขัน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2543 หลังการประชุม WTO ที่ Seattle ล้มเหลว ประเทศสมาชิกเริ่มหันไปทำ FTA ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแข่งขันเปิดเสรี โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยเองต่างก็มีการทำ FTA มาก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และสหภาพยุโรป เป็นต้น หากไทยไม่ทำก็อาจสูญเสียตลาด เนื่องจากประเทศอื่นได้มีการเปิดตลาดระหว่างกันไปแล้ว ถ้ายิ่งช้าไทยจะยิ่งเสียเปรียบ

ปัจจุบันประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยมีการเจรจาจัดทำ FTA กับหลายประเทศ เช่น

สหรัฐ - ทำ FTA แล้วกับ NAFTA, CAFTA, ANDEAN สิ่งคโปร์ ออสเตรเลีย เปรู ชิลี โมร็อกโก บาห์เรน จอร์แดน อิสราเอล และเกาหลี

- กำลังเจรจากับ มาเลเซีย ไต้หวัน และ GCC ฯลฯ

ญี่ปุ่น - ทำ FTA แล้วกับสิงคโปร์ เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

- อยู่ระหว่างเจรจากับ เกาหลี เปรู ชิลีและอิสราเอล

- เจรจากับไทยเสร็จแล้ว รอลงนามความตกลง

จีน - ทำ FTA แล้วกับ ชิลี ปากีสถาน และ ASEAN

- อยู่ระหว่างเจรจากับ อินเดีย, SACU และ GCC

สิงคโปร์ - ทำ FTA แล้วกับ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ชิลี ฯลฯ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนวทางเขตการค้าเสรี(3)

“การดำเนินการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA เพื่อขยายโอกาสและลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระห่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นและที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปรับตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในยุคนี้ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เสริมสร้างให้ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ดียิ่งขึ้นในที่สุด เนื่องจาก FTA มีประโยชน์สำหรับประเทศไทยสามารถขยายโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการยังประเทศคู่เจรจาได้มากขึ้น และยังส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถไปลงทุนในประเทศคู่เจรจาได้คล่องตัวขึ้นเช่นเดียวกัน

ดร.ธนวัฒน์ พลวิชัย

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

“FTA เหมือนเป็นการสอบ บังคับให้เราเข้าทิศทางที่ถูกต้อง ต้องปรับวิธีการผลิตให้เข้าสู่มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องจัดสรรเงินมาเพื่อจัดมาตรฐานส่วนการผลิต ซึ่งต้องทำเลย ปรับโครงสร้างทางการผลิตการเกษตรที่ดี และรวมกลุ่มเกษตรให้มีขนาดใหญ่เพื่อลดต้นทุน หากแก้ไขได้จะสามารถแปลงวิกฤตเป็นโอกาส”

พีรพล กลีบบัว

กูร์เมต์ ฟาร์ม

“ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ทางการแพทย์ไทย เป็นที่ยอมรับระดับสากลคือการให้บริการรักษาพยาบาลในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยต่างชาติได้ตลอดเวลา การสร้างภาพลักษณ์ดังกล่าวนอกจากจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากต่างชาติแล้ว ยังส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยรวมกับธุรกิจโรงพยาบาลและจุดสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่องเที่ยว สปา และธุรกิจลองสเตย์”

แพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล

โรงพยาบาลบางกอกเก้าอินเตอร์เนชั่นแนล

และเครือโรงพยาบาลบางประกอก

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวทางเขตการค้าเสรี(2)

“สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากลงนาม JTEPA กับญี่ปุ่น แม้ว่าในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ตัว เราอาจจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากภาษีนำเข้าสูงกว่า เพราะประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น การคำนวณภาษีนำเข้าที่ญี่ปุ่นจัดให้เรา จึงอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่เรื่องสำคัญที่เห็นได้ขัดคือ ไทยจะขยายขอบเขตการค้าได้มากขึ้น นอกจากเรื่องภาษีแล้วยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ และการส่งถ่ายการลงทุน การส่งผ่านเทคโนโลยีการผลิตอีกทั้งเรายังได้รับวัตถุดิบในสิ่งที่ประเทศเราขาดแคลน หรือไม่มีมาผลิตให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ผลจากการเปิดการค้านี้ จะทำให้เรามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกหลายประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาษที่ไม่ได้ด้อยกว่าเราเท่าใดนัก”

ไพบูลย์ พลสุวรรณา

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

“ในจัดทำเขตการค้าเสรีต่าง ๆ จะมีประเด็นหลักที่การเร่งลดอากรขาเข้าในอัตราต่ำที่สุด หรือที่เป็นศูนย์ให้กับสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีนั้น ๆ ส่งผลให้สินค้ามีราคาจำหน่ายถูก ถือเป็นการเปิดตลาดให้มีการแข่งขันซึ่งกันและกันนั่นเอง สำหรับสินค้าอ่อนไหว สินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันได้ หรือสินค้าที่ไม่ต้องการเปิดตลาดการค้าเสรีด้วยเหตุผลอื่น ก็จะใช้ “กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิด” ที่เข้มงวด จึงเป็นเครื่องมือเปิดตลาดที่สำคัญ สำหรับการเจรจาเปิดการค้าเสรี

ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี

ประธานคณะกรรมการอุปสรรคการค้าที่มิใช่ภาษีและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

“หากมีการเปิดการค้าเสรีทางการเงินการธนาคารแล้ว คงจะต้องมีการแข่งขันทางการเงิน ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่เสียฝ่ายเดียว ถ้าเราไปทำกับประเทศที่ก้าวหน้ากว่าเรา สถาบันการเงินการธนาคารที่ความเข้มแข็งกว่าเรามาก เราก็จะเป็นฝ่ายตั้งรับฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำการค้าเสรีด้านการเงินกับใคร คงต้องดูทั้งสองฝ่ายว่าเราเองสามารถที่จะเข้าไปลงทุนกับเขาได้ และเขาลงทุนกับเราได้ ต้องดูประเทศที่เล็กไม่ได้ก้าวหน้ามากในเรื่อง banking อย่างเช่นในจีน เราบอกว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากเหลือเกิน ถ้าตลาดใหญ่มาก ๆ แล้ว เราเองเป็นสถาบันการเงินสามารถไปเปิดได้ ก็จะมีโอกาสที่จะทำได้ แต่ว่าทั้งหมดในการเจรจา FTA และการเปิดเสรี ผมว่าไม่ใช่ดูเรื่องบางเรื่อง มันต้องดูผลประโยชน์รวมทั้งหมด เราอาจจะต้องเสียบางอย่างไปบ้างในเรื่องของการเงิน แต่เราอาจจะได้ในบางอย่างในเรื่องของอุตสาหกรรม หรือ เกษตรกรรม ผมคิดว่าเวลาดูจะดูแค่ sector เดียวไม่ได้ เราต้องดูทั้งหมด แล้วชั่งน้ำหนักว่า ผลประโยชน์ของเราทำได้หรือเปล่า

อดิศักดิ์ ตันติวรวงศ์

ประธานสมาคมธนาคารไทย

“กระแสการจัดทำ FTA ที่เกิดขึ้นมา ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกประเทศต่างต้องการมุ่งแสวงหาโอกาสทางการค้า ทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการจากประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม บางธุรกิจอาจไม่ได้ “โอกาส” ทางการค้าจาก FTA เพราะขาด ศักยภาพ” ในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้อง “ปรับตัว” โดยเฉพาะทางการผลิต “สินค้าให้ได้มาตรฐาน” เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและปรับโครงสร้างการผลิตสามารถแข่งขันได้ แต่การปรับตัวของบางธุรกิจอาจจะมีความยากง่ายที่แตกต่างกัน จึงควรต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

สำหรับภาคสังคมก็คงจะได้รับผลกระทบจาก FTA เพราะผู้บริโภคอาจจะมีสินค้าจากต่างประเทศให้เลือกมากขึ้นและในราคาที่ถูกลง แต่ก็ต้องสนใจถึง มาตรฐานและความปลอดภัย” ของสินค้าต่าง ๆ ด้วย การสร้างความแข็งแกร่งของภาคประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน”

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

“เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลเริ่มไปเจรจา อยากให้ภาครัฐมองภาคธุรกิจเหมือนเป็นลูกค้า โดยสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะได้ไปเจรจาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ ภาคธุรกิจต้องมีการศึกษาเรื่องนี้และเตรียมพร้อมปรับตัวมองหาโอกาสใหม่ ๆ ตลอดเวลา”

กลินท์ สารสิน

ค้าสากลซีเมนต์ไทย

แนวทางเขตการค้าเสรี(1)

“.....การเจรจาการค้าเพื่อการเปิดการค้าเสรีนั้น ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งโดยปกติแล้วการค้าเสรีที่เป็นธรรม (Free and Fair Trade) จะต้องมีมาตรการ Safeguard เป็นแนวคุ้มกัน เพื่อไม่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศเกิดความเดือดร้อน ซึ่งต้องยอมรับว่าผลจากการเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี หรือ FTA นั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลในแต่ละครั้ง คณะทีมเจรจาได้ดำเนินการในทุกขั้นตอน โดยตั้งอยู่ผลประโยชน์โดยรวมของประเทศไทย ซึ่งก่อนการเจรจาทุกครั้งได้มีการศึกษาอย่างรอบด้านถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก็จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นรองรับด้วย

เกริกไกร จีระแพทย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

“การทำเอฟทีเอกับแต่ละประเทศ จะเกิดประโยชน์หรือเป็นโทษ ก็ขึ้นอยู่กับมองในแง่มุมของใคร และใครจะสายตายาวกว่าใคร เพราะประเทศที่จะเข้าเป็นคู่กรณีในความตกลงแต่ละประเทศ ย่อมรักษาประโยชน์ของแต่ละประเทศหรือประชาชนของตนด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครยอมเสียเปรียบใครได้”

มีชัย ฤชุพันธ์

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

“ในฐานะผู้แทนของภาคธุรกิจเอกชน ก็ถือว่าเป็นความต้องการอันหนึ่งเวลาเรามีข้อตกลงไม่ว่าจะเป็นการค้าเสรีหรือข้อตกลงประเภทไหนก็ตาม ก็จะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการที่จะให้ความเห็นในเบื้องต้นก่อนไปเจรจา ระหว่างที่เจรจา รวมทั้งเมื่อเจรจาเสร็จแล้ว ถ้ามีเหตุผลอย่างไรก็มีหน้าที่ที่จะประสาน และนำกลับมาทำงานร่วมกับสมาชิก ถ้ามีเหตุผลอย่างไรก็มีหน้าที่ที่จะประสานงาน และนำกลับมาทำงานร่วมกับสมาชิก เพราะฉะนั้น ข้อตกลงการค้าเสรีที่ผ่านมาใน 3-4 เรื่อง เราก็มีบทบาทที่เข้าไปร่วมมากน้อยต่างกันไป ที่เราเจรจาไปแล้วก็มี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และอินเดียเป็นส่วนน้อย และก็ล่าสุด คือ ญี่ปุ่น ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็เป็นการผลักดันสินค้าพื้นฐาน คือ สินค้าเกษตร ที่ประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพ เราก็พยายามผลักดันสินค้าพวกนี้ แต่ก็มีสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เราสามารถแข่งขันได้ดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันที่ทางองค์กรเอกชน คือสภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าที่ร่วมมือกัน ในการที่จะเสนอข้อเจรจาและข้อตกลงให้กับภาครัฐ”

ประมนต์ สุธีวงษ์

ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย


วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความคืบหน้าเจรจา FTA

ความคืบหน้าเจรจา FTA

การเริ่มลดภาษีศุลกากรและระยะเวลาในการลดภาษีภายใต้ FTA ต่าง ๆ ของไทยมีกำหนดเวลาที่แตกต่างกันดังสรุปไว้ในตารางข้างล่าง

FTA

เริ่มเจรจา

มีผลบังคับใช้

ระยะเวลาการลดภาษี

ไทย-ออสเตรเลีย

25 ส.ค.2545

1 ม.ค. 2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ไทย-ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2568

ออสเตรเลีย-ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

ไทย-นิวซีแลนด์

15 มิ.ย.2547

1 ก.ค.2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ไทย-ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2568

นิวซีแลนด์-ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

ไทย-ญี่ปุ่น

16 ก.พ.2547

พ.ย.2550 (E)

ไทย-นำสินค้ามาลด/เลิกภาษีหรือ กำหนดโควตาพิเศษคิดเป็น 99.49%

ของมูลค่าการนำเข้าในปี 2548

ญี่ปุ่น-นำเข้าสินค้ามาลด/เลิกภาษี หรือกำหนดโควตาพิเศาคิดเป็น 98.06%

ของมูลค่าการนำเข้าในปี 2548

ไทย-เปรู

29 ม.ค.2547

ภายในปี 2550 (E)

สินค้าเร่งลดภาษี

- ภาษี 0% ทันที ปลายปี 2550 จำนวน ไทย 2,574 รายการ เปรู 3,817 รายการ

- ภาษี 0% ทันที ปลายปี 2555 จำนวน ไทย 1,296 รายการ เปรู 1,197 รายการ

ไทย-อินเดีย

9 เม.ย.2547

1 ก.ย.2547

สินค้า 82 รายการ

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2549

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 (E)

สินค้าอ่อนไหว-อยู่ระหว่างการเจรจา

ไทย-จีน

26 เม.ย.2545

1 ต.ค.2546

ลดภาษีผักและผลไม้ลดลงเป็น 0%

ไทย-สหรัฐ

28 มิ.ย.2547

-

หยุดการเจรจา

ไทย-บาเรน

7 มิ.ย.2545

-

หยุดการเจรจา

อาเซียน-อินเดีย

อยู่ระหว่างการเจรจารูปแบบ ในการลดภาษี การจัดกลุ่มสินค้า

อาเซียน-จีน

15 พ.ค.2545

20 ก.ค.2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2561

สินค้าอ่อนไหวสูง

ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

30 พ.ย.2547

ภายในปี

2550 (E)

สินค้ากลุ่ม Standstill/Exclusion

ลดภาษีไม่เกิน 1% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด

สินค้าในทั่วไป

อยู่ระหว่างเจรจา

อาเซียน-ญี่ปุ่น

8 ต.ค.2546

แลกเปลี่ยนข้อเสนอการเปิดตลาดสินค้าและมีการหารือกันในเบื้องต้น แต่มาเลเซีย กัมพูชา และลาว ยังไม่สามารถยื่นรายการสินค้าได้

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

ไทย-เอฟต้า

15 มี.ค.2547

8 มิ.ย.2547

อยู่ระหว่างการเจรจา

บิมสเทค (BIMSTEC)

6 มิ.ย.2540

8 ก.พ.2547

-ลด/เลิกภาษีของประเทศกำลังพัฒนา (อินเดีย ศรีลังกา และไทย) ระหว่างกัน 1 ..2549 – 30 มิ.ย.2552 และลด/เลิกภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (บังกลาเทศ ภูฎาน พม่า และเนปาล) 1 ..2549 – 30 มิ.ย.2550

-ลด/เลิกภาษีของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้ประเทศกำลังพัฒนา ตั้งแต่ 1 ..2549 ถึงวันที่ 30 มิ.. 2543 ลด/เลิกภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดด้วยกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ..2549 – 30 มิ..2552

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

“เอฟ ที เอ ก็คงคล้าย ๆ กัน ถ้าเรารับฟังความเห็นจากทุก ๆ ฝ่าย หรือรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ชวนมาคุยกับเรา มาบอกเรา ให้ความเห็นเรา อะไรที่เรารับฟังได้ก็รับฟัง อะไรที่รับฟังไม่ได้ ก็อย่ารำคาญ ช่วยทำให้เขาเบาใจหรือเข้าใจ เช่น ในออสเตรเลีย ก่อนทำเอฟ ทีเอ เขาจะมีการศึกษาและและประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลาย ๆ ครั้ง อย่างน้อย 5 ครั้ง ผมว่าเขาทำถูก

“จริง ๆ เอฟทีเอ ถ้าทำดี ๆ นะ Balance ดี ๆ แม้ว่าตอนทำอาจจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เมื่อทำไปจนเติบโตแล้ว มันจะได้ทั้งคู่ ซึ่งตรงนี้ต้องชี้ให้ประชาชนเห็น จากสามประเทศที่ทำไปแล้ว ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นมาจากเอฟทีเอ

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี
คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com