วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวทางเขตการค้าเสรี(2)

“สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากลงนาม JTEPA กับญี่ปุ่น แม้ว่าในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ตัว เราอาจจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากภาษีนำเข้าสูงกว่า เพราะประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น การคำนวณภาษีนำเข้าที่ญี่ปุ่นจัดให้เรา จึงอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่เรื่องสำคัญที่เห็นได้ขัดคือ ไทยจะขยายขอบเขตการค้าได้มากขึ้น นอกจากเรื่องภาษีแล้วยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ และการส่งถ่ายการลงทุน การส่งผ่านเทคโนโลยีการผลิตอีกทั้งเรายังได้รับวัตถุดิบในสิ่งที่ประเทศเราขาดแคลน หรือไม่มีมาผลิตให้เกิดเป็นมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตาม ผลจากการเปิดการค้านี้ จะทำให้เรามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกหลายประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาษที่ไม่ได้ด้อยกว่าเราเท่าใดนัก”

ไพบูลย์ พลสุวรรณา

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

“ในจัดทำเขตการค้าเสรีต่าง ๆ จะมีประเด็นหลักที่การเร่งลดอากรขาเข้าในอัตราต่ำที่สุด หรือที่เป็นศูนย์ให้กับสินค้าที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีนั้น ๆ ส่งผลให้สินค้ามีราคาจำหน่ายถูก ถือเป็นการเปิดตลาดให้มีการแข่งขันซึ่งกันและกันนั่นเอง สำหรับสินค้าอ่อนไหว สินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันได้ หรือสินค้าที่ไม่ต้องการเปิดตลาดการค้าเสรีด้วยเหตุผลอื่น ก็จะใช้ “กฎเกณฑ์ถิ่นกำเนิด” ที่เข้มงวด จึงเป็นเครื่องมือเปิดตลาดที่สำคัญ สำหรับการเจรจาเปิดการค้าเสรี

ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี

ประธานคณะกรรมการอุปสรรคการค้าที่มิใช่ภาษีและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

“หากมีการเปิดการค้าเสรีทางการเงินการธนาคารแล้ว คงจะต้องมีการแข่งขันทางการเงิน ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่เสียฝ่ายเดียว ถ้าเราไปทำกับประเทศที่ก้าวหน้ากว่าเรา สถาบันการเงินการธนาคารที่ความเข้มแข็งกว่าเรามาก เราก็จะเป็นฝ่ายตั้งรับฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำการค้าเสรีด้านการเงินกับใคร คงต้องดูทั้งสองฝ่ายว่าเราเองสามารถที่จะเข้าไปลงทุนกับเขาได้ และเขาลงทุนกับเราได้ ต้องดูประเทศที่เล็กไม่ได้ก้าวหน้ามากในเรื่อง banking อย่างเช่นในจีน เราบอกว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากเหลือเกิน ถ้าตลาดใหญ่มาก ๆ แล้ว เราเองเป็นสถาบันการเงินสามารถไปเปิดได้ ก็จะมีโอกาสที่จะทำได้ แต่ว่าทั้งหมดในการเจรจา FTA และการเปิดเสรี ผมว่าไม่ใช่ดูเรื่องบางเรื่อง มันต้องดูผลประโยชน์รวมทั้งหมด เราอาจจะต้องเสียบางอย่างไปบ้างในเรื่องของการเงิน แต่เราอาจจะได้ในบางอย่างในเรื่องของอุตสาหกรรม หรือ เกษตรกรรม ผมคิดว่าเวลาดูจะดูแค่ sector เดียวไม่ได้ เราต้องดูทั้งหมด แล้วชั่งน้ำหนักว่า ผลประโยชน์ของเราทำได้หรือเปล่า

อดิศักดิ์ ตันติวรวงศ์

ประธานสมาคมธนาคารไทย

“กระแสการจัดทำ FTA ที่เกิดขึ้นมา ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทุกประเทศต่างต้องการมุ่งแสวงหาโอกาสทางการค้า ทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการจากประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม บางธุรกิจอาจไม่ได้ “โอกาส” ทางการค้าจาก FTA เพราะขาด ศักยภาพ” ในการแข่งขัน จึงจำเป็นต้อง “ปรับตัว” โดยเฉพาะทางการผลิต “สินค้าให้ได้มาตรฐาน” เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและปรับโครงสร้างการผลิตสามารถแข่งขันได้ แต่การปรับตัวของบางธุรกิจอาจจะมีความยากง่ายที่แตกต่างกัน จึงควรต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

สำหรับภาคสังคมก็คงจะได้รับผลกระทบจาก FTA เพราะผู้บริโภคอาจจะมีสินค้าจากต่างประเทศให้เลือกมากขึ้นและในราคาที่ถูกลง แต่ก็ต้องสนใจถึง มาตรฐานและความปลอดภัย” ของสินค้าต่าง ๆ ด้วย การสร้างความแข็งแกร่งของภาคประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน”

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

“เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลเริ่มไปเจรจา อยากให้ภาครัฐมองภาคธุรกิจเหมือนเป็นลูกค้า โดยสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า จะได้ไปเจรจาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ ภาคธุรกิจต้องมีการศึกษาเรื่องนี้และเตรียมพร้อมปรับตัวมองหาโอกาสใหม่ ๆ ตลอดเวลา”

กลินท์ สารสิน

ค้าสากลซีเมนต์ไทย

แนวทางเขตการค้าเสรี(1)

“.....การเจรจาการค้าเพื่อการเปิดการค้าเสรีนั้น ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งโดยปกติแล้วการค้าเสรีที่เป็นธรรม (Free and Fair Trade) จะต้องมีมาตรการ Safeguard เป็นแนวคุ้มกัน เพื่อไม่ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศเกิดความเดือดร้อน ซึ่งต้องยอมรับว่าผลจากการเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี หรือ FTA นั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลในแต่ละครั้ง คณะทีมเจรจาได้ดำเนินการในทุกขั้นตอน โดยตั้งอยู่ผลประโยชน์โดยรวมของประเทศไทย ซึ่งก่อนการเจรจาทุกครั้งได้มีการศึกษาอย่างรอบด้านถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก็จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นรองรับด้วย

เกริกไกร จีระแพทย์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

“การทำเอฟทีเอกับแต่ละประเทศ จะเกิดประโยชน์หรือเป็นโทษ ก็ขึ้นอยู่กับมองในแง่มุมของใคร และใครจะสายตายาวกว่าใคร เพราะประเทศที่จะเข้าเป็นคู่กรณีในความตกลงแต่ละประเทศ ย่อมรักษาประโยชน์ของแต่ละประเทศหรือประชาชนของตนด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครยอมเสียเปรียบใครได้”

มีชัย ฤชุพันธ์

ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

“ในฐานะผู้แทนของภาคธุรกิจเอกชน ก็ถือว่าเป็นความต้องการอันหนึ่งเวลาเรามีข้อตกลงไม่ว่าจะเป็นการค้าเสรีหรือข้อตกลงประเภทไหนก็ตาม ก็จะพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการที่จะให้ความเห็นในเบื้องต้นก่อนไปเจรจา ระหว่างที่เจรจา รวมทั้งเมื่อเจรจาเสร็จแล้ว ถ้ามีเหตุผลอย่างไรก็มีหน้าที่ที่จะประสาน และนำกลับมาทำงานร่วมกับสมาชิก ถ้ามีเหตุผลอย่างไรก็มีหน้าที่ที่จะประสานงาน และนำกลับมาทำงานร่วมกับสมาชิก เพราะฉะนั้น ข้อตกลงการค้าเสรีที่ผ่านมาใน 3-4 เรื่อง เราก็มีบทบาทที่เข้าไปร่วมมากน้อยต่างกันไป ที่เราเจรจาไปแล้วก็มี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน และอินเดียเป็นส่วนน้อย และก็ล่าสุด คือ ญี่ปุ่น ซึ่งเท่าที่ผ่านมาก็เป็นการผลักดันสินค้าพื้นฐาน คือ สินค้าเกษตร ที่ประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพ เราก็พยายามผลักดันสินค้าพวกนี้ แต่ก็มีสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เราสามารถแข่งขันได้ดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันที่ทางองค์กรเอกชน คือสภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าที่ร่วมมือกัน ในการที่จะเสนอข้อเจรจาและข้อตกลงให้กับภาครัฐ”

ประมนต์ สุธีวงษ์

ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย


วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความคืบหน้าเจรจา FTA

ความคืบหน้าเจรจา FTA

การเริ่มลดภาษีศุลกากรและระยะเวลาในการลดภาษีภายใต้ FTA ต่าง ๆ ของไทยมีกำหนดเวลาที่แตกต่างกันดังสรุปไว้ในตารางข้างล่าง

FTA

เริ่มเจรจา

มีผลบังคับใช้

ระยะเวลาการลดภาษี

ไทย-ออสเตรเลีย

25 ส.ค.2545

1 ม.ค. 2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ไทย-ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2568

ออสเตรเลีย-ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

ไทย-นิวซีแลนด์

15 มิ.ย.2547

1 ก.ค.2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ไทย-ลดภาษีเหลือ 0% ในปี 2568

นิวซีแลนด์-ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

ไทย-ญี่ปุ่น

16 ก.พ.2547

พ.ย.2550 (E)

ไทย-นำสินค้ามาลด/เลิกภาษีหรือ กำหนดโควตาพิเศษคิดเป็น 99.49%

ของมูลค่าการนำเข้าในปี 2548

ญี่ปุ่น-นำเข้าสินค้ามาลด/เลิกภาษี หรือกำหนดโควตาพิเศาคิดเป็น 98.06%

ของมูลค่าการนำเข้าในปี 2548

ไทย-เปรู

29 ม.ค.2547

ภายในปี 2550 (E)

สินค้าเร่งลดภาษี

- ภาษี 0% ทันที ปลายปี 2550 จำนวน ไทย 2,574 รายการ เปรู 3,817 รายการ

- ภาษี 0% ทันที ปลายปี 2555 จำนวน ไทย 1,296 รายการ เปรู 1,197 รายการ

ไทย-อินเดีย

9 เม.ย.2547

1 ก.ย.2547

สินค้า 82 รายการ

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2549

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 (E)

สินค้าอ่อนไหว-อยู่ระหว่างการเจรจา

ไทย-จีน

26 เม.ย.2545

1 ต.ค.2546

ลดภาษีผักและผลไม้ลดลงเป็น 0%

ไทย-สหรัฐ

28 มิ.ย.2547

-

หยุดการเจรจา

ไทย-บาเรน

7 มิ.ย.2545

-

หยุดการเจรจา

อาเซียน-อินเดีย

อยู่ระหว่างการเจรจารูปแบบ ในการลดภาษี การจัดกลุ่มสินค้า

อาเซียน-จีน

15 พ.ค.2545

20 ก.ค.2548

สินค้าทั่วไป

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553

สินค้าอ่อนไหว

ลดภาษีเป็น 0% ในปี 2561

สินค้าอ่อนไหวสูง

ลดภาษีเหลือ 50% ในปี 2558

อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

30 พ.ย.2547

ภายในปี

2550 (E)

สินค้ากลุ่ม Standstill/Exclusion

ลดภาษีไม่เกิน 1% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด

สินค้าในทั่วไป

อยู่ระหว่างเจรจา

อาเซียน-ญี่ปุ่น

8 ต.ค.2546

แลกเปลี่ยนข้อเสนอการเปิดตลาดสินค้าและมีการหารือกันในเบื้องต้น แต่มาเลเซีย กัมพูชา และลาว ยังไม่สามารถยื่นรายการสินค้าได้

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

ไทย-เอฟต้า

15 มี.ค.2547

8 มิ.ย.2547

อยู่ระหว่างการเจรจา

บิมสเทค (BIMSTEC)

6 มิ.ย.2540

8 ก.พ.2547

-ลด/เลิกภาษีของประเทศกำลังพัฒนา (อินเดีย ศรีลังกา และไทย) ระหว่างกัน 1 ..2549 – 30 มิ.ย.2552 และลด/เลิกภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (บังกลาเทศ ภูฎาน พม่า และเนปาล) 1 ..2549 – 30 มิ.ย.2550

-ลด/เลิกภาษีของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้ประเทศกำลังพัฒนา ตั้งแต่ 1 ..2549 ถึงวันที่ 30 มิ.. 2543 ลด/เลิกภาษีให้ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดด้วยกัน ตั้งแต่วันที่ 1 ..2549 – 30 มิ..2552

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

อาเซียน-เกาหลี

30 มิ.ย.2547

ธ.ค.2548

(ไทยยังไม่ลงนาม)

อยู่ระหว่างการเจรจา

“เอฟ ที เอ ก็คงคล้าย ๆ กัน ถ้าเรารับฟังความเห็นจากทุก ๆ ฝ่าย หรือรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ชวนมาคุยกับเรา มาบอกเรา ให้ความเห็นเรา อะไรที่เรารับฟังได้ก็รับฟัง อะไรที่รับฟังไม่ได้ ก็อย่ารำคาญ ช่วยทำให้เขาเบาใจหรือเข้าใจ เช่น ในออสเตรเลีย ก่อนทำเอฟ ทีเอ เขาจะมีการศึกษาและและประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลาย ๆ ครั้ง อย่างน้อย 5 ครั้ง ผมว่าเขาทำถูก

“จริง ๆ เอฟทีเอ ถ้าทำดี ๆ นะ Balance ดี ๆ แม้ว่าตอนทำอาจจะมีความได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เมื่อทำไปจนเติบโตแล้ว มันจะได้ทั้งคู่ ซึ่งตรงนี้ต้องชี้ให้ประชาชนเห็น จากสามประเทศที่ทำไปแล้ว ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจนั้นมาจากเอฟทีเอ

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเตรียมความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชน

ประโยชน์จาก FTA จะเกิดขึ้นสูงสุดเมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน ความร่วมมือทั้งในด้านข้อมูลข่าวสาร ข้อคิดเห็น ระหว่างหน่วยงานที่ทำหน้าที่เจรจาของภาครัฐ (เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น) และภาคเอกชนตัวแทนภาคธุรกิจ สมาคม ผู้ประกอบการ นักวิชาการ รวมทั้งองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลของการเจรจา ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันเพื่อให้เจรจาจัดทำ FTA เดินหน้าไปอย่างมีเอกภาพ และก่อให้ประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงที่สุด

การมีส่วนของภาคเอกชน

ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย FTA ของไทยได้โดยผ่านสมาคมต่าง ๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สภาวิชาชีพต่าง ๆ เป็นต้น หรือถ้าเป็นผู้ประกอบการเกษตรกร หรือประชาชนที่ไม่ได้สังกัดสมาคมใด ๆ ก็สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อเสนอแนะโดยตรงมาได้ที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรวบรวมความคิดเห็นของเอกชนกลุ่มต่าง ๆ แล้วนำมาประมวลเพื่อหาท่าทีในการเจรจาที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงสุด

การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ

ภาครัฐได้เตรียมมาตรการรองรับการเปิดเสรีโดยได้เร่งดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสร้างความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้

1) แต่งตั้งคณะติดตามประเมินผลการเจรจา และเสนอแนะมาตรการรองรับ

2) ปรับปรุงระบบและลดขั้นตอนการให้บริการของภาครัฐ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้การค้ามีความคล่องตัวขึ้น เช่น ลดขั้นตอนขบวนการพิธีการทางศุลการกร เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

3) การกำหนดมาตรฐานสินค้าในประเทศ และมาตรฐานนำเข้าทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่จำเป็นเพื่อปกป้องผู้ผลิตและผู้บริโภคในประเทศ

4) มีระบบเตือนภัยเพื่อป้องกันผลกระทบอย่างฉับพลัน และรุนแรงต่ออุตสาหกรรมภายในจากการทำ FTA โดยติดตามการนำเข้าอย่างใกล้ชิด หากมีการทุ่มตลาด หรือมีการนำเข้ามามากจนอาจเกิดผลกระทบต่อการผลิตภายในประเทศ จะสามารถนำมาตรการที่เกี่ยวข้อง อาทิมาตรการปกป้อง มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดหรือมาตรการตอบโต้การอุดหนุน มาใช้ได้ในทันท่วงที

5) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร การสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ฯลฯ

6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าโดยเฉพาะด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ

7) ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของไทยในต่างประเทศ

8) ปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและสาขาบริการที่ไทยมีศักยภาพ

9) พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้มแข็งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการใช้ประโยชน์จาก FTA

10) ขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อติดตามความคืบหน้าผลของการเจรจา เพื่อหารือประเด็นปัญหาที่เกิดจากการทำ FTA และเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

11) รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศโดยให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี นอกจากนี้ อยู่ในระหว่างตั้งกองทุนช่วยการปรับตัวรองรับการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจภาคบริการ

การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน

ภาคเอกชนก็ต้องมีการปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากการทำเขตการค้าเสรีได้อย่างเต็มที่

1) เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดการ การบริหารต้นทุน ปรับใช้เทคนิคการบริหารสมัยใหม่ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย

2) พัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า โดยยกระดับคุณภาพและมาตรฐานให้สูงขึ้น เพื่อเข้าสู่ตลาดระดับบน ซึ่งจะช่วยลดการแข่งขันในสินค้าระดับล่าง และสร้าง Brand Name สินค้าของไทยสู่ตลาดโลก

3) ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตให้สูงขึ้น

4) พัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ และช่างเทคนิคให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและระดับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

5) พัฒนาและขยายตลาดเชิงรุก โดยให้ตลาดเป็นตัวนำ ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ขยายช่องทางการตลาดในการเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น มีกระบวนการผลิตและการส่งมอบสินค้าอย่างรวดเร็ว

6) พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนไทยกับภาคเอกชนของประเทศที่ร่วมจัดทำเขตการค้าเสรี เช่น การจัดตั้งสภาธุรกิจ เป็นต้น

คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com