การส่งออกถือเป็นจักรกลสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันนำรายได้เข้าประเทศกว่า 3 ล้านล้านบาท/ปี หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั้งหมด การทำ FTA จึงมีเหตุผลสำคัญเพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยโดยการขยายโอกาสในการส่งออกและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยทั้งในตลาดสำคัญในปัจจุบัน เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอาเซียน และตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น จีน และอินเดีย
นอกจากนี้ ไทยยังจัดทำ FTA กับสมาคมการค้าแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA) ซึ่งประกอบด้วย สวิสเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิดเทนสไตลส์ เม็กซิโก แคนาดา เกาหลี และกลุ่มประเทศเมอร์โดซูร์ และกลุ่ม BIMSTEC ซึ่งประกอบด้วย อินเดีย ศรีลังกา ไทย บังคลาเทศ ภูฐาน พม่า และเนปาล ไทยได้เจรจา FTA ทั้งในรูปแบบ 2 ฝ่าย และในภูมิภายกับประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดียว จีน เปรู ญี่ปุ่น เป็นต้น รวมทั้งเจรจาในนามของอาเซียนกับคู่เจรจาอื่น เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยเจรจามีทั้งที่สำเร็จแล้ว อยู่ระหว่างเจรจา และที่ยุติไปแล้วโดยยังไม่สำเร็จได้แก่ บาร์เรน และสหรัฐอเมริกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น