วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์การทำ FTA ของไทย

การจัดทำ FTA ของไทยรัฐบาลยึดถือแนวนโยบาย การค้าเสรีที่เป็นธรรม (Free and Fair Tarde) และจะตัดสินใจทำ FTA ก็ต่อเมื่อเห็นว่ามีผลประโยชน์มากกว่าเสีย และต้องมีแต้มต่อในเรื่องเวลาที่ยาวนานขึ้นในการเปิดเสรีและมีกลไลในการปกป้องสินค้าอ่อนไหวด้วย โดยจะเปิดให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมให้มากทีสุด เพื่อสร้างความโปร่งใส

จากการหารือระหว่างภาครัฐ เอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการไทยได้วางยุทธศาสตร์การทำ FTA ของไทยรายสาขาที่สำคัญ ดังนี้

1. เกษตร

· เน้นสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง เช่น ข้าว ผลไม้เมืองร้อน ยางพารา และอาหารแปรรูปชนิดต่าง ๆ

· กำหนดให้มีระยะเวลาในการปรับตัวที่นานเพียงพอสำหรับสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว

· ให้มีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของอาหารและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันให้มีความร่วมมือกันในเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยจัดทำความตกลงยอมรับมาตรฐานสินค้าซึ่งกันและกัน (Mutual Recognition Arrangement : MRA) รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน

· ให้มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรนำเข้า เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคชาวไทย

2. อุตสาหกรรม

· เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายในสาขาที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูง เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น (เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องหนังและรองเท้า) ยานยนต์และชิ้นส่วน สินค้าคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

· มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรฐานสินค้าและสิ่งแวดล้อมให้เจรจา ลด ยกเลิก หรือปรับปรุงเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า รวมทั้งให้มีการจัดทำความตกลงยอมรับมาตรฐานซึ่งกันและกัน (MRA)

· การเจรจากำหนดเงื่อนไขกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) จะต้องสะท้อนสภาพการผลิตจริงในประเทศ และต้องปรับการผลิตอุตสาหกรรมต้นน้ำให้มากขึ้น

3. บริการ

· เปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเจรจาเปิดเฉพาะบริการที่ไทยมีความพร้อมก่อน เช่น ท่องเที่ยว สุขภาพ ก่อสร้าง ออกแบบ

· สนับสนุนธุรกิจที่มีอนาคต เช่น ICT, Logistics บันเทิง ซ่อมบำรุง

· กลุ่มธุรกิจบริการที่ยังไม่มีความพร้อม เช่น ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคม ขนส่ง ให้มีระยะเวลาปรับตัว (Transition Period) 10 ปี

4. ทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า

· เน้นความคุ้มครองระดับเดียวกับความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO เป็นหลัก

· แสวงหาความร่วมมือจากประเทศคู่เจรจาในการอำนวยความสะดวกด้านการขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ เช่น การขอรับการคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิของไทย

· ผลักดันให้ประเทศคู่เจรจาให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยมีผลประโยชน์ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งที่มาทางชีวภาพ

· ส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์ในข้อมูลสิทธิบัตร เพิ่มศักยภาพและทักษะของนักประดิษฐ์ของไทยในการวิจัยพัฒนาต่อยอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำตอบของทุกปัญหาการค้าต่างประเทศ

บริการถ่ายภาพโดยมืออาชีพ

...คลิกที่รูป....บริการถ่่ายภาพสุดประทับใจ¨ prewedding รับประริญญา พิธีการต่่าง ๆ แฟชั่นอีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com