ไทยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำเขตการค้าเสรี ดังนี้
1) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีควรทำในกรอบกว้าง (Comprehensive) ครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งการค้าสินค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กำหนดให้มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
2) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีที่สอดคล้องกับกฎของ WTO ซึ่งมีเงื่อนไขให้การเปิดการค้าเสรีครอบคลุมการค้าสินค้าและบริการอย่างมากพอ (Substantial coverage) สร้างความโปร่งใสและเปิดให้สมาชิกอื่นตรวจสอบความตกลงได้
3) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีจะยึดหลักการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (Reciprocity) และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยคำนึงถึงสถานะของไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ในกรณีที่คู่เจรจาเป้นประเทศที่พัฒนาไปแล้ว ไทยควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลาในการปรับตัวนานกว่า หรือมีภาระผูกพันน้อยกว่า
4) การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี ควรครอบคลุมมาตรการทางการค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) ด้วย เช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้านำเข้า และมาตรการโควตา
5) ความตกลงเขตการค้าเสรี ควรมีมาตรการป้องกันผลกระทบของเปิดเสรีต่ออุตสาหกรรมภายใน เช่น มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-dumping Measures : AD) มาตรการต่อต้านการอุดหนุน (Countervailing Measures : CVD) มาตรการปกป้อง (Safeguards) รวมทั้งกำหนดกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าอย่างเป็นธรรม (Dispute Settlement)
6) การจัดทำเขตการค้าเสรีควรให้มีผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ทั้งนี้อาจมีการเจรจาเพื่อเริ่มลดภาษีหรือเปิดเสรีระหว่างกันก่อนในเรื่องที่พร้อม (Early Harvest)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น